วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 8.30-12.30 น.

การบ้าน



สรุป 8 หัวข้อเป็นมายแมป


บรรยากาศในห้องเรียน
       วันนี้เป็นวันที่ครูมาช้ากว่าปกติ เนื่องจากว่าต้องไปเปิดงานวิชาการจึงมาช้า แต่นักศึกษาทุกคน เข้าเรียนพร้อมหน้าพร้อมตาตรงต่อเวลา นั่งรอคุณครูในห้องอย่างเรียบร้อย บรรยากาศภายในห้องเรียนวันนี้ค่อนข้างรื่นเริง ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนรความคิดในขณะที่ทำกิจกรรม


กิจกรรมในวันนี้
       นำไม้เสียบลูดชิ้นที่แจกไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมา แล้วรบดินน้ำมันคนละก้อนยไปเสร็จแล้วนำไไปต่อถามคำสั่งต่อไปนี้

1.ให้นักศึกษานำไม้เสียบลูกชิ้นมาทำเป็นสามเหลี่ยมจะขนาดไหนก็ได้ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้ดินน้ำมันที่ได้มาเป็นตัวเชื่อม


นี้คือรูปสามเหลี่ยมที่ดิฉันทำค้ะใช้ไม้ความยาวขนาดกลางและเท่าๆกันต่อกันค่ะ



จากรูปสามเหลี่ยมให้ต่อเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมสามารถยกขึ้นแล้วไม่หลุด ตามจิตนาการของตนดเองค่ะ



พอทำรูปทรงสามเหลี่ยมเสร็จ ครูมให้ตัวแทนนำรูปทรงสามเหลี่ยมที่สร้างไปปวางบนแท่นฉายให้เพืท่อนดูรูปทรงสามเหลี่ยมตามจิตนาการที่แตกต่างกันแต่ยังคงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมอยู่ค่ะ


2.ให้นักศึกษาสร้างรูปสี่เหลี่ยมและรูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมาจากเศษไม้ที่มีอยู่ถ้ามหากยังทำไม่ได้ก็สามารถจับคู่แล้วนำไม้มาช่วยกันต่อได้ดังนี้



นี่คือรูปสี่เหลี่ยมที่ใช่เศษดินน้ำมันยึดต่อกันได้แบบนี้ค่ะ




และนี่ก็คือรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีความสูงจากไม้ที่มีขนาดยาวล้อมรอบ 4 อันและมีความกว้างตามขนาดของไม้กลาง 8 ไม้ รวมทั้งหมด 12 ไม้ที่ใช่ในการสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมาได้ค่ะ

นำเสนอ บทความ งานวิจัย และวิดีโอ หน้าชั้นเรียน เลขที่ 13, 14, และ 15

บทความ
นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง เลขที่ 13
สรุป บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
        บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอน ของคุณครูท่านหนึ่ง ที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ยาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
       แนวการสอนของคุณครูท่านนี้จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆ ได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็กด้วย  ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก  ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มใีบทบาทสำคัญ ในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเ้ป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
                     1.ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                     2.ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนา่นกับการเรียน
                     3.ใช้สื่อที่น่าสนใจ
                     การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้ การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก จะทำใมห้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง
บทความจาก : นิตยสาร Kids&School


นำเสนอ วิจัยจาก นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา

วิจัย
นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา เลขที่ 14
สรุปงานวิจัย
เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ กิจกรรมดนตรี ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ วรินธร สิริเดชะ (2550) เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง, อาจารย์ ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549  ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้เวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค และแบบทดสอบวัดทักษะ พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ 

คู่มือการจัดประสบการณ์ตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค
               การจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวชูคเวิร์ค ให้กับเด็กสัปดาห์ละ 3 วัน คือในวันจันทร์ พฤหัสบดี  ศุกร์ ระหว่าง เวลา 9.10 - 9.50 น. เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเะพื่อส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.การจัดหมวดหมู่
2.การรู้ค่าจำนวน 1-10
3.การเปรียบเทียบในเรื่องต่อไปนี้
-จำนวน ได้แก่ มาก-น้อย เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
-ปริมาณ ได้แก่ มาก-น้อย หนัก-เบา
-ขนาด ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ สูง-ต่ำ สั้น-ยาว
-รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4.อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมดนตรีที่เด็กได้ลงปฏิบัติ โดยผสมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ได้แก่
- คำพูด (Speech)
-การร้องเพลง (Singing)
-ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)
-การใช้ร่างกายทำจังหวะ (The Use of  Body in Percussion)
-การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทัน (improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ผสมผสานเข้าไปในกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของการจัด ประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สัมพันธ์กับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในการวางแผนการจัดกิจกรรม แต่ละครั้งจึงต้องมีการบูรณาการ เนื้อหาสาระทางด้านคณิตศาสตร์กับดนตรี
เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างสัมพันธ์กัน  เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประวงค์ ผู้ดำเนินการควรมีพื้นฐานความเข้าใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาวิทยาการ ดนตรี ควรเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบข้าง ชั่งสังเกต ใจกว้าง ที่จะให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อว่าดนตรีพัฒนาเด็กๆได้ และที่สำคัญ คือ การคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล นอกจากนั้นทุกครั้งก่อนที่จะจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการควรมีกาสรตระเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลายเคลื่องดนตรีต่างๆที่สอดคล้องกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
             ออร์ฟเน้นให้เด็กได้สัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมากที่สุด โโยเริ่มจากสื่อที่ใกล้ตัวขยายสู่ สื่อที่ไกลออกไป ดังนั่้น สื่อของออร์ฟจึงเริ่มจากร่างกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสำเร็จรูปต่างๆ เช่น เครื่องดนตรี เพลง
            เพลงที่ออร์ฟใช้ในการจัดประสบการณ์ดนตรีแนวออร์ฟชูคเวิร์คนี้มีมาหลากหลาย ทั้งจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเอง เพลงที่เด็กแต่งขึ้น และเพลงจากนักแต่งเพลงท่านอื่น ที่สอดคล้องกับหลักการของ ออร์ฟเนื่องจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเองมีไม่มากนักและวัตถุประสงค์หลักของการเขียนเพลงของออร์ฟคือ แต่งเพียงเพื่อเป็นแบบ(models) เพื่อการ improvisation ส่วนประกอบที่ออร์ฟใช้แต่งเพลงสำหรับเด็ก คือ 
                   1.pentatonic mode(โน้ต 5 ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์ของเสียง โด เร มี ซอ ลา)
                   2.ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโน้ตซ้ำๆที่เดิมอยู่ตลอดทั้งเพลง
ซึ่งออร์ฟตั้งใจให้เด็กคิดขึ้นมาเอง เช่น เพลง Day Is New Over ซึ่งเป็นเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงง่าย มีทำนองและเนื้อร้อง แบ่งออกเป็นท่อนๆ อย่างแน่นอน มีท่อนล้อและท่อนรับ ซึ่งง่ายต่อการเลียนแบบเพื่อนำไปคิดแต่งทำนอง ต่อด้วยตนเอง
             ดังนั้นในการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมีความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกล้ตัว สิ่งที่ประดิษฐ์เอง และสื่อสำเร็จรูป ผู้ดำเนินการวิจัยจึงจำเป็นต้อง ศึกษาและเรียนรู้วิธีการใช้ และเป้าหมายของสื่อแต่ละชนิดเพื่อนำมาใช้ให้สอดคล้อมกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 
            ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าคำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้าน
อนุกรม


วิดีโอนางสาวภทรธร รัชนิพนธ์ เลขที่ 15

หมายเหตุ เลขที่ 15 เพื่อนไม่สบายไม่ได้เตรียมเนื้อหามาจึงไม่ได้นำเสนอค่ะ

ทักษะที่ได้รับ

-ทักษะการคิดเป็นขั้นเป็นตอน
-ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรีัยน
-ทักษะการออกแบบราูปทรงเรขาคณิตต่างๆ 
-ทักษะการคิดและวางแผนอย่างเป็นระบบ
-ทักษะการฟังแล้ววิเคราะห์
-ทักษะการจัดเรียง
-ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

1.นำความรู้จากการนำไม้เสียบลูกชิ้นไปทำการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ใช้จิตนาการการวางแผนในการสร้างรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ
2.นอกจากการสร้างรูปทรงแล้ว ก็จะเป็นการนับจากรูปทรงว่าใช้ไม้กี่อันกี่ด้านต่อกัยนจึงจะได้รูปทรงที่ต้องการ
3.เวลาสอนเด็กควรมีวิธีการสอนที่หลากหลายและแปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อกระตุ้นความสนใจแกผู้เรียน

เทคนิคการสอนของอาจารย์

1.ให้ความรู้ด้วยกิจกรรม
2.เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
3.อธิบายความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4.สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยกรรม
5.ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเหล่อเพื่อน สนุกกับการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ช่วยเหลือกันและกัน สร้างบรรยากาศให้สนุกทำให้อยากเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียน สนใจครูผู้สอน

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบและเหมาะสมหน้าเกรงขาม มีการเตรียมเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดี สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

        อ.เข้าห้องเวลา 8.49 น. เริ่มเรียนเวลา 8.50 น. อ.แจกกระดาษ A 4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้ตีตารางตามคำสั่งครู  เพื่นๆตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมกันเป็นอย่างดี  มีการจดบันทึกระหว่างเรียน  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ครูเปิดคลิปวิดีโอให้ชมแล้ววิเคราะห์ว่ามีการเชื่อมโยงกันอย่างไร แล้วช่วยกันตอบคำถามครู บรรยากาสภายในห้องเรียนเงียบสงบ และดูเพื่อนๆจะตั้งใจเรียนมากค่ะ

ภาพตารางกิจกรรมแรกในวันนี้


ตีช่องตาราง ช่องละ 1 ซม. ตารางด้านบนแบ่งเป็น 2 แถว  ตารางที่ 2 แบ่ง 3 แถว


แรเงาช่องที่ติดกัน  แล้วเว้นช่องออกด้วยการแรเงา  เพื่อให้เห็นอย่างชัดเจน


วิดีโอ โทรทัศน์ครูกิจกรรมที 2


                                         

 การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach



ชมวิดีโอ


เรื่องที่เรียนในวันนี้

-การเป็นครูต้องรู้จักการวางแผนและมีเป้าหมาย
-การตีช่องตารางและการแรงเงาตาราง โดยวางแผนในการแรเงาไม่ให้เหมือนกันในแต่ละช่อง คิดและวางแผน
-ชมโทรทัศน์ครูพร้อมคิดวิเคราะห์ตาม เรื่อง โครงการ (Project)
-การออกแบบและการวางตำแหน่งทิศทาง
-การจัดประสบการให้กับเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย


ความรู้ที่ได้รับ

- การเลือกที่จะเป็นครูนั้นควรที่จะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ตระหนักถึงความเป็นครูเคารพจรรยาบรรและวิชาชีพครู  และเข้าใจในวิชาชีพครู  รู้ว่าควรแก้ไขตนเองอย่างไรให้เหมาะสมกับวิชาชีพนั้น

- การแบ่งตารางเป็นช่อง จะทำให้รู้จากการคิดวางแผนในการแรเงาในช่องได้หลายรูปแบบ มีโอกาสในการทำแบบอื่นได้อีก เวลาจัดประสบการณืให้เด็กจะต้องให้เด็กรู้จักคิดตาม เด็กจะรู้ว่ามีโอกาสอื่นที่เด็กสามารถจะทำต่อไปได้อีก และพิจารณาว่ากิจกรรมนี้เหมาะสมสำหรับเด็กหรือไม่ ต้องเชื่อว่าสอดคล้องกับการเรียนการสอนจริง และคิดวิเคราะห์ว่าทำได้จริงหรือไม่ และสามารถนำไปทำได้แบบใดอีกบ้าง

- วิดีโอโทรทัศน์ครูได้นำเสนอ ได้นำเสนอ Project ของเด็กอนุบาล 3 เรื่อง การจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเห็ด ก่อนจะจัดกิจกรรมนั้นจะต้องสังเกตความหลากหลาย ความสามารถของเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนเก่งเรื่อง ดนตรี , ศิลปะ หรือ ความคิด  จะต้องดึงความสามารถของเด็กนั้นแสดงออกมา

การจัดกิจกรรม Project Approach มี 5 ลักษณะ คือ
1. การอภิปราย
2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
3. การนำเสนอภาคสนาม
4. การสืบค้นข้อมูล
5. การจัดแสดง

      ต้องคำนึงถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก จะต้องทำทุกระยะ เรียงลำดับจาก ง่ายไปหายาก ดูความสามารถและความสนใจของเด็กเป็นหลัก ครูต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยจะต้องจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร เลือกหัวข้อโดยให้เด็กช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการเลือกหัวข้อ ถ้าเด็กสนใจหัวข้อใดมากที่สุดให้เลือกหัวข้อนั้น และครูจะต้องรวบรวมว่ามีอะไรบ้าง จากประสบการณ์เดิมของเด็ก สิ่งสำคัญในการเลือกหัวข้อคือ ครูต้องเปิดโอกาศให้เด็กนำเสนอประสบการณ์เดิม แล้วตั้งคำถามและคิดวิเคราะห์ว่าคำถามจะนำเสนอในรูปแบบใด ครูจะต้องคิดเสมอว่าครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กและคิดว่าเด็กสามารถทำได้


นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 10 , 11 , 12




สรุปบทความ ของนางสาวมาลินี ทวีพงศ์ เลขที่ 10

เรื่อง : เรขาคณิตคิดสนุก (แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน)

จาก : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย : อาจารย์สุรัชน์  อินทสังข์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

         อ.สุรัชน์ ได้กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เห็นผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ เพื่อจะช่วยให้เด็กคิดฝึกห่เหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตซ่อนอยู่ในหลายๆที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในส่วน และสนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันกับครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมส์ทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรมเช่น
              ให้พ่อแม่และเด็กทำเยลลี่ด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผน ว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคิดคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็ม ที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาศพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง  อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ
การประดิษฐ์กล่องของขวัญ
              การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมส์สนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ


สรุปวิจัย  นางสาวศิริพร  ขมิ้นแก้ว เลขที่ 11

สรุปวิดีโอ นางสาวชลนิชา  สิงห์คู่  เลขที่ 12

*วิจัยและวิดีโอต้องแก้ไข พรีเซ้นสัปดาห์ถัดไป

ทักษะ

1.ทักษะการออกแบบตาราง
2.ทักษะกระบวนกานคิดการวางแผนแรงเงาตาราง
3.ทักษะการวิเคราะห์วิดีโอ
4.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
5.ทักษะการฟังการนำเสนอ


การนำไปประยุกต์ใช้

-นำไปใช้ในการออกแบบตาราง ในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย
-นำความรู้ไปบูรณาการจัดเป็นกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้
-เข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างถูกต้องถูกวิธี
-สามรถนำเอา กิจกรรมที่ได้ดูจากวิดีโอ Project Approach ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน


เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. ให้นักศึกษาเรียนรู้จากวิดีโอ
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4. สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
5. ให้ทำกิจกรรมตีตารางพร้อมแรเงา
6. ให้นักศึกษานำเสนอข้อมูลของตน

ประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบตามกฎของคณะ ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม สนุกกับการร่วมกิจกรรม คิดตาม สนใจครูผู้สอน

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ เป็นมิตรกับเพื่อน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ทำงานส่งตามที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งการเหมาะสมดูดีน่าเกรงขาม มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาการสอนมาอย่างดีและจัดระบบการสอนเป็นขั้นเป็นตอนจึงเป็นระเบียบในการเรียน สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถาม

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
          วันนี้มาเช้ากว่าทุกครั้ง ชดเชยวันมาสายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็นั่งรอเพื่อนรอครู จนเวลา 8.44 น. ครูก็คุยเกี่ยวกับกระดาษแข็งที่ให้มาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว  เสร็จแล้วครูก็มีใบใหม่ให้เขียนชื่อแล้วนำไปติดบนตารางที่ครูตีเส้นไว้

ตารางการตื่นนอน

ก่อน  7.00 .

หลัง  7.00  .















       แจกกระดาษแข็งที่ตัดสำเร็จแล้วลงชื่อตนเองนำไปติดในตาราง  ตามเวลาที่ตื่นนอน  ว่าใครตื่นนอน ก่อน 7.00 น. ตื่น 7.00 น. หลัง 7.00 น. ติดเรียงกันตามลำดับ  ทำแบบบันทึกให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ดูด้วย เป็นกิจกรรมที่นำไปใช้ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สอนให้เด็กได้มีการบันทึกข้อมูล เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิ  เวลาสอนเด็กเราต้องสอนทั้งเรื่องโครงสร้างนาฬิกา  เข็มนาฬิกา  ตัวเลข และทิศทาง  ทุกอย่างเราต้องเขียนได้ การฝึกสอนจะได้รู้ว่าควรทำอย่างไรต้องใช้ให้เป็น  เช่น ถ้าเข็มอยู่หน้าเลข 7 ก็แสดงว่าก่อน 7.00 น. แต่ถ้าเข็มอยู่หลังเลข 7 ก็แสดงว่า หลัง 7.00 น. เป็นต้น  การออกแบบสื่อเราต้องคำนึงถึงภาพรวมใหญ่ๆไว้ก่อนแล้วค่อยมาปรับเปลี่ยน การนำข้อมูลมานำเสนอ ก็จะทำให้เห็นถึงตัวเลขที่หลากหลาย เด็กจะได้ทักษะเรื่องจำนวนจะต้องนับได้และบอกจำนวนได้

แผนภูมิ

ลำดับ
ก่อน  7.00 .
7.00  .
หลัง  7.00  .

1
2
3
4
ชื่อ
ชื่อ

ชื่อ
ชื่อ
ชื่อ










9

11
รวม
20  คน

เป็นการนำเสนอแบบกราฟฟิกในการสอน

        ตาราง 3 ช่อง การออกแบบสื่อเราต้องออกแบบเป็นภาพรวมใหญ่ๆ  ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้และใช้ได้นาน ในการนำกระดาษที่ลงชื่อไปติดบนกระดานจะทำให้เด็กเห็นได้ชัดเจน  จะเห็นว่ามีจำนวนเด็กแต่ละช่อง ที่มาก่อน และหลัง บอกจำนวน  การนับ ซึ่งตัวสุดท้ายที่นับได้เป็นตัวแสดงจำนวนเด็กจะได้ประสบการณ์กว่า นับจำนวนไล่ลงมาตามลำดับและบอกจำนวนได้ โดยใช้เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนด้านหน้าด้วย

ทำอย่างไรให้เด็กจำได้และบอกเลขได้  (4 ปี)
     - การให้เด็กใช้ภาพไปติด ทำบ่อยๆ เด็กก็จะทราบถึงคอนเซปในการเรียนหรือกิจกรรม 
ทำอย่างไรให้เด็กจำได้และเขียนได้ (5 ปี)
     - ให้เด็กฝึกเขียนเส้นตามรอยปะ และฟีแฮนด์ เเมื่อเด็กโตขึนก็จะเขียนได้มีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงวัย
    
      ในการจัดกิจกรรมแรกจะต้องดูพัฒฯาการของเด็กเพราะพัฒนาการคือสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ในแต่ละช่วงวัย และระดับช่วงอายุวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น ตามขั้นบันได  เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ ให้เด็กได้ลงมือทำเองเพื่อให้เด็กจดจำ ซึ่งวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  เช่น  บางคนชอบฟังแล้วจดตามบางคนชอบการลงมือทำมากกว่า อย่างนี้เป็นต้น ต้องรู้ถึงพัฒนาการ  วิธีการเรียนรู้   

เชื่อมโยงกลุ่มสาระที่  1 จำนวนและการดำเนินการ (เป็นแนวคิดพื้นฐาน การบวก )
 

นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 7 8 และ9


คนที่ 1 เลขที่ 7 นำเสนอบทความ

บทความ เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ  สาขาวิชาการจัดการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


คนที่ 2 เลขที่ 8 นำเสนอวิจัย


นำเสนอเสร็จก็พักเบรค 10 นาที
   - ทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้ว และเพลงใหม่ของวันนี้

เพลงใหม่
เพลง จับปู

เพลง แม่ไก่ออกไข่


เพลง นับนิ้วมือ


เพลง นกกระจิบ


เพลง ลูกแมวสิบตัว



เพลง บวก-ลบ


เพลงนี้ครูให้ลองแต่งใหม่ช่วยกัน
                                   บ้านของฉันมีนาฬิกาสองเลือน    ครูให้อีกสองเลือนนะเธอ
                                   มารวมกันนับดีดีซิเออ                  ดูซิเธอรวมกันได้สี่เลือน
                                   บ้านฉันมีนาฬิกาสี่เลือน               หายไปหนึ่งใบนะเธอ
                                   ฉันหานาฬิกาไม่เจอ                     ดูซิเออเหลือเพียงสามใบ
   ตอนแรกคิดว่ายากแต่พอทำจริงๆแค่เปลี่ยนจากแก้วเป็นนาฬิกาเท่านั้นเองเสียงจังหวะก็ไ่ได้เปลี่ยนก็ไม่ยากเลย สนุกด้วย 

ต่อไปเป็นคำคล้องจอง


สาระความรู้ที่ได้รับ
      ในการใช้คำพูดต้องระมัดระวังให้ดีเพราะเด็กไม่สามารถเข้าใจคำนั้นๆได้ทุกคำต้องอธิบายให้เด็กนั้นเข้าใจ การทำท่าทางเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวและสมองเชื่อมโยงกัน นอกจากนั้นเราต้องรู้จักประยุกต์สิ่งรอบตัวให้เด็กได้เรียนรู้ได้ เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการแต่ยังคงเสริมสร้างพัฒนาการมากขึ้น ในการร้องเพลงเราสามารถปรับหรือเปลี่ยนเนื้อร้องหรือทำนองให้สนุกและทำให้เด็กสนใจตามวัยที่เหมาะสมเนื้อหาของคณิตศาสตร์มี 6 สาระ ตัวเลขตัวสุดท้ายจะเป็นจำนวน  สิ่งที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้แต่จดจำได้ง่ายก็คือ เพลง และคำคล้องจอง จะทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด

ลักษณะของหลักสูตรที่ดีมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
- เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาการความคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่การท่องจำ
- แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และ สัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
- เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
- เปิดให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจ ปฏิบัติตัดสินใจด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการเปรียบเทียบ
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหาที่ครูได้ถาม
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการจับคู่
- ทักษะการแก้ไขปัญหา
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
- ใช้ในการเรียนการสอน
- ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านการคิด
- ใช้ในการจัดกิจกรรมเกมส์การศึกษา
- สามารถนำไปปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแต่ยังคงคอเซปเดิมในการนำไปสอน
- เข้าใจในเนื้อหาสาระสามารถนำไปปรับใช้ได้ถูก

เทคนิคการสอนของอาจารย์
      ครูจะมีการตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิด และแก้ไขปัญหาและอธิบายเพิ่มเติม เน้นเนื้อหาสาระที่อัดแน่นเต็มเปรี่ยมคุณภาพ เพื่อหวังให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีคุณภาพ จึงมีการสอนแบบละเอียดอ่อน มีการเปิดโอกาศในการสอบถามและเสนอความคิดเห็น และครูก็จะชี้แนะเพิ่มเติม  ที่สำคัญมักจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาเสมอเพื่อเป็นเครื่องเตื่อนสติ ให้แก่นักศึกษาเป็นส่งที่ดีมากค่ะ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน ตอบคำถามประเด็นปัญหา ให้ความร่วมมือต่อผู้สอน ช่วยเหลือเพื่อนทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม  แต่งกายถูกค้องตามกฎระเบียบของสาขาวิชา เข้าใจในเนื้อหาสระที่สอนในวันนี้

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา สร้างบรรยากาศในการเรียนให้น่าเรียนมากขึ้น ช่วยเหลือกันในกันคิด มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา  มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี  แต่งกายเรียบร้อย น่าเคารพ เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น สามารถอธิบายรายละเอียดต่างๆได้อย่างเข้าใจ สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีค่ะ