วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
          วันนี้มาเช้ากว่าทุกครั้ง ชดเชยวันมาสายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็นั่งรอเพื่อนรอครู จนเวลา 8.44 น. ครูก็คุยเกี่ยวกับกระดาษแข็งที่ให้มาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว  เสร็จแล้วครูก็มีใบใหม่ให้เขียนชื่อแล้วนำไปติดบนตารางที่ครูตีเส้นไว้

ตารางการตื่นนอน

ก่อน  7.00 .

หลัง  7.00  .















       แจกกระดาษแข็งที่ตัดสำเร็จแล้วลงชื่อตนเองนำไปติดในตาราง  ตามเวลาที่ตื่นนอน  ว่าใครตื่นนอน ก่อน 7.00 น. ตื่น 7.00 น. หลัง 7.00 น. ติดเรียงกันตามลำดับ  ทำแบบบันทึกให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ดูด้วย เป็นกิจกรรมที่นำไปใช้ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สอนให้เด็กได้มีการบันทึกข้อมูล เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิ  เวลาสอนเด็กเราต้องสอนทั้งเรื่องโครงสร้างนาฬิกา  เข็มนาฬิกา  ตัวเลข และทิศทาง  ทุกอย่างเราต้องเขียนได้ การฝึกสอนจะได้รู้ว่าควรทำอย่างไรต้องใช้ให้เป็น  เช่น ถ้าเข็มอยู่หน้าเลข 7 ก็แสดงว่าก่อน 7.00 น. แต่ถ้าเข็มอยู่หลังเลข 7 ก็แสดงว่า หลัง 7.00 น. เป็นต้น  การออกแบบสื่อเราต้องคำนึงถึงภาพรวมใหญ่ๆไว้ก่อนแล้วค่อยมาปรับเปลี่ยน การนำข้อมูลมานำเสนอ ก็จะทำให้เห็นถึงตัวเลขที่หลากหลาย เด็กจะได้ทักษะเรื่องจำนวนจะต้องนับได้และบอกจำนวนได้

แผนภูมิ

ลำดับ
ก่อน  7.00 .
7.00  .
หลัง  7.00  .

1
2
3
4
ชื่อ
ชื่อ

ชื่อ
ชื่อ
ชื่อ










9

11
รวม
20  คน

เป็นการนำเสนอแบบกราฟฟิกในการสอน

        ตาราง 3 ช่อง การออกแบบสื่อเราต้องออกแบบเป็นภาพรวมใหญ่ๆ  ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้และใช้ได้นาน ในการนำกระดาษที่ลงชื่อไปติดบนกระดานจะทำให้เด็กเห็นได้ชัดเจน  จะเห็นว่ามีจำนวนเด็กแต่ละช่อง ที่มาก่อน และหลัง บอกจำนวน  การนับ ซึ่งตัวสุดท้ายที่นับได้เป็นตัวแสดงจำนวนเด็กจะได้ประสบการณ์กว่า นับจำนวนไล่ลงมาตามลำดับและบอกจำนวนได้ โดยใช้เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนด้านหน้าด้วย

ทำอย่างไรให้เด็กจำได้และบอกเลขได้  (4 ปี)
     - การให้เด็กใช้ภาพไปติด ทำบ่อยๆ เด็กก็จะทราบถึงคอนเซปในการเรียนหรือกิจกรรม 
ทำอย่างไรให้เด็กจำได้และเขียนได้ (5 ปี)
     - ให้เด็กฝึกเขียนเส้นตามรอยปะ และฟีแฮนด์ เเมื่อเด็กโตขึนก็จะเขียนได้มีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงวัย
    
      ในการจัดกิจกรรมแรกจะต้องดูพัฒฯาการของเด็กเพราะพัฒนาการคือสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ในแต่ละช่วงวัย และระดับช่วงอายุวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้น ตามขั้นบันได  เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ ให้เด็กได้ลงมือทำเองเพื่อให้เด็กจดจำ ซึ่งวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  เช่น  บางคนชอบฟังแล้วจดตามบางคนชอบการลงมือทำมากกว่า อย่างนี้เป็นต้น ต้องรู้ถึงพัฒนาการ  วิธีการเรียนรู้   

เชื่อมโยงกลุ่มสาระที่  1 จำนวนและการดำเนินการ (เป็นแนวคิดพื้นฐาน การบวก )
 

นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 7 8 และ9


คนที่ 1 เลขที่ 7 นำเสนอบทความ

บทความ เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ  สาขาวิชาการจัดการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


คนที่ 2 เลขที่ 8 นำเสนอวิจัย


นำเสนอเสร็จก็พักเบรค 10 นาที
   - ทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้ว และเพลงใหม่ของวันนี้

เพลงใหม่
เพลง จับปู

เพลง แม่ไก่ออกไข่


เพลง นับนิ้วมือ


เพลง นกกระจิบ


เพลง ลูกแมวสิบตัว



เพลง บวก-ลบ


เพลงนี้ครูให้ลองแต่งใหม่ช่วยกัน
                                   บ้านของฉันมีนาฬิกาสองเลือน    ครูให้อีกสองเลือนนะเธอ
                                   มารวมกันนับดีดีซิเออ                  ดูซิเธอรวมกันได้สี่เลือน
                                   บ้านฉันมีนาฬิกาสี่เลือน               หายไปหนึ่งใบนะเธอ
                                   ฉันหานาฬิกาไม่เจอ                     ดูซิเออเหลือเพียงสามใบ
   ตอนแรกคิดว่ายากแต่พอทำจริงๆแค่เปลี่ยนจากแก้วเป็นนาฬิกาเท่านั้นเองเสียงจังหวะก็ไ่ได้เปลี่ยนก็ไม่ยากเลย สนุกด้วย 

ต่อไปเป็นคำคล้องจอง


สาระความรู้ที่ได้รับ
      ในการใช้คำพูดต้องระมัดระวังให้ดีเพราะเด็กไม่สามารถเข้าใจคำนั้นๆได้ทุกคำต้องอธิบายให้เด็กนั้นเข้าใจ การทำท่าทางเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวและสมองเชื่อมโยงกัน นอกจากนั้นเราต้องรู้จักประยุกต์สิ่งรอบตัวให้เด็กได้เรียนรู้ได้ เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการแต่ยังคงเสริมสร้างพัฒนาการมากขึ้น ในการร้องเพลงเราสามารถปรับหรือเปลี่ยนเนื้อร้องหรือทำนองให้สนุกและทำให้เด็กสนใจตามวัยที่เหมาะสมเนื้อหาของคณิตศาสตร์มี 6 สาระ ตัวเลขตัวสุดท้ายจะเป็นจำนวน  สิ่งที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้แต่จดจำได้ง่ายก็คือ เพลง และคำคล้องจอง จะทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด

ลักษณะของหลักสูตรที่ดีมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
- เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาการความคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่การท่องจำ
- แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และ สัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
- เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
- เปิดให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจ ปฏิบัติตัดสินใจด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการเปรียบเทียบ
- ทักษะการคำนวน
- ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหาที่ครูได้ถาม
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการจับคู่
- ทักษะการแก้ไขปัญหา
- ทักษะการออกแบบ
- ทักษะการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
- ใช้ในการเรียนการสอน
- ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านการคิด
- ใช้ในการจัดกิจกรรมเกมส์การศึกษา
- สามารถนำไปปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแต่ยังคงคอเซปเดิมในการนำไปสอน
- เข้าใจในเนื้อหาสาระสามารถนำไปปรับใช้ได้ถูก

เทคนิคการสอนของอาจารย์
      ครูจะมีการตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิด และแก้ไขปัญหาและอธิบายเพิ่มเติม เน้นเนื้อหาสาระที่อัดแน่นเต็มเปรี่ยมคุณภาพ เพื่อหวังให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีคุณภาพ จึงมีการสอนแบบละเอียดอ่อน มีการเปิดโอกาศในการสอบถามและเสนอความคิดเห็น และครูก็จะชี้แนะเพิ่มเติม  ที่สำคัญมักจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาเสมอเพื่อเป็นเครื่องเตื่อนสติ ให้แก่นักศึกษาเป็นส่งที่ดีมากค่ะ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน ตอบคำถามประเด็นปัญหา ให้ความร่วมมือต่อผู้สอน ช่วยเหลือเพื่อนทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม  แต่งกายถูกค้องตามกฎระเบียบของสาขาวิชา เข้าใจในเนื้อหาสระที่สอนในวันนี้

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา สร้างบรรยากาศในการเรียนให้น่าเรียนมากขึ้น ช่วยเหลือกันในกันคิด มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา  มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี  แต่งกายเรียบร้อย น่าเคารพ เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น สามารถอธิบายรายละเอียดต่างๆได้อย่างเข้าใจ สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีค่ะ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น