วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

        อ.เข้าห้องเวลา 8.49 น. เริ่มเรียนเวลา 8.50 น. อ.แจกกระดาษ A 4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้ตีตารางตามคำสั่งครู  เพื่นๆตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมกันเป็นอย่างดี  มีการจดบันทึกระหว่างเรียน  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ครูเปิดคลิปวิดีโอให้ชมแล้ววิเคราะห์ว่ามีการเชื่อมโยงกันอย่างไร แล้วช่วยกันตอบคำถามครู บรรยากาสภายในห้องเรียนเงียบสงบ และดูเพื่อนๆจะตั้งใจเรียนมากค่ะ

ภาพตารางกิจกรรมแรกในวันนี้


ตีช่องตาราง ช่องละ 1 ซม. ตารางด้านบนแบ่งเป็น 2 แถว  ตารางที่ 2 แบ่ง 3 แถว


แรเงาช่องที่ติดกัน  แล้วเว้นช่องออกด้วยการแรเงา  เพื่อให้เห็นอย่างชัดเจน


วิดีโอ โทรทัศน์ครูกิจกรรมที 2


                                         

 การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach



ชมวิดีโอ


เรื่องที่เรียนในวันนี้

-การเป็นครูต้องรู้จักการวางแผนและมีเป้าหมาย
-การตีช่องตารางและการแรงเงาตาราง โดยวางแผนในการแรเงาไม่ให้เหมือนกันในแต่ละช่อง คิดและวางแผน
-ชมโทรทัศน์ครูพร้อมคิดวิเคราะห์ตาม เรื่อง โครงการ (Project)
-การออกแบบและการวางตำแหน่งทิศทาง
-การจัดประสบการให้กับเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย


ความรู้ที่ได้รับ

- การเลือกที่จะเป็นครูนั้นควรที่จะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ตระหนักถึงความเป็นครูเคารพจรรยาบรรและวิชาชีพครู  และเข้าใจในวิชาชีพครู  รู้ว่าควรแก้ไขตนเองอย่างไรให้เหมาะสมกับวิชาชีพนั้น

- การแบ่งตารางเป็นช่อง จะทำให้รู้จากการคิดวางแผนในการแรเงาในช่องได้หลายรูปแบบ มีโอกาสในการทำแบบอื่นได้อีก เวลาจัดประสบการณืให้เด็กจะต้องให้เด็กรู้จักคิดตาม เด็กจะรู้ว่ามีโอกาสอื่นที่เด็กสามารถจะทำต่อไปได้อีก และพิจารณาว่ากิจกรรมนี้เหมาะสมสำหรับเด็กหรือไม่ ต้องเชื่อว่าสอดคล้องกับการเรียนการสอนจริง และคิดวิเคราะห์ว่าทำได้จริงหรือไม่ และสามารถนำไปทำได้แบบใดอีกบ้าง

- วิดีโอโทรทัศน์ครูได้นำเสนอ ได้นำเสนอ Project ของเด็กอนุบาล 3 เรื่อง การจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเห็ด ก่อนจะจัดกิจกรรมนั้นจะต้องสังเกตความหลากหลาย ความสามารถของเด็ก เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนเก่งเรื่อง ดนตรี , ศิลปะ หรือ ความคิด  จะต้องดึงความสามารถของเด็กนั้นแสดงออกมา

การจัดกิจกรรม Project Approach มี 5 ลักษณะ คือ
1. การอภิปราย
2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
3. การนำเสนอภาคสนาม
4. การสืบค้นข้อมูล
5. การจัดแสดง

      ต้องคำนึงถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก จะต้องทำทุกระยะ เรียงลำดับจาก ง่ายไปหายาก ดูความสามารถและความสนใจของเด็กเป็นหลัก ครูต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยจะต้องจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร เลือกหัวข้อโดยให้เด็กช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการเลือกหัวข้อ ถ้าเด็กสนใจหัวข้อใดมากที่สุดให้เลือกหัวข้อนั้น และครูจะต้องรวบรวมว่ามีอะไรบ้าง จากประสบการณ์เดิมของเด็ก สิ่งสำคัญในการเลือกหัวข้อคือ ครูต้องเปิดโอกาศให้เด็กนำเสนอประสบการณ์เดิม แล้วตั้งคำถามและคิดวิเคราะห์ว่าคำถามจะนำเสนอในรูปแบบใด ครูจะต้องคิดเสมอว่าครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กและคิดว่าเด็กสามารถทำได้


นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 10 , 11 , 12




สรุปบทความ ของนางสาวมาลินี ทวีพงศ์ เลขที่ 10

เรื่อง : เรขาคณิตคิดสนุก (แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน)

จาก : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย : อาจารย์สุรัชน์  อินทสังข์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

         อ.สุรัชน์ ได้กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เห็นผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ เพื่อจะช่วยให้เด็กคิดฝึกห่เหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตซ่อนอยู่ในหลายๆที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในส่วน และสนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันกับครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมส์ทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรมเช่น
              ให้พ่อแม่และเด็กทำเยลลี่ด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผน ว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคิดคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็ม ที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาศพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง  อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ
การประดิษฐ์กล่องของขวัญ
              การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมส์สนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ


สรุปวิจัย  นางสาวศิริพร  ขมิ้นแก้ว เลขที่ 11

สรุปวิดีโอ นางสาวชลนิชา  สิงห์คู่  เลขที่ 12

*วิจัยและวิดีโอต้องแก้ไข พรีเซ้นสัปดาห์ถัดไป

ทักษะ

1.ทักษะการออกแบบตาราง
2.ทักษะกระบวนกานคิดการวางแผนแรงเงาตาราง
3.ทักษะการวิเคราะห์วิดีโอ
4.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
5.ทักษะการฟังการนำเสนอ


การนำไปประยุกต์ใช้

-นำไปใช้ในการออกแบบตาราง ในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย
-นำความรู้ไปบูรณาการจัดเป็นกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้
-เข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างถูกต้องถูกวิธี
-สามรถนำเอา กิจกรรมที่ได้ดูจากวิดีโอ Project Approach ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน


เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. ให้นักศึกษาเรียนรู้จากวิดีโอ
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4. สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
5. ให้ทำกิจกรรมตีตารางพร้อมแรเงา
6. ให้นักศึกษานำเสนอข้อมูลของตน

ประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบตามกฎของคณะ ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม สนุกกับการร่วมกิจกรรม คิดตาม สนใจครูผู้สอน

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ เป็นมิตรกับเพื่อน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ทำงานส่งตามที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งการเหมาะสมดูดีน่าเกรงขาม มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาการสอนมาอย่างดีและจัดระบบการสอนเป็นขั้นเป็นตอนจึงเป็นระเบียบในการเรียน สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น