วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 9 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 8.30-12.30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

           วันนี้เพื่อนๆและดิฉันเข้าเรียนตามปกติและตรงต่อเวลามากันพร้อมเพียง  แต่วันนี้คุณครูติดธุระจึงได้ขึ้นช้านิดหน่อยค่ะ เมื่อทุกคนพร้อมแล้วจึงเริ่มเรียน ซึ่งครูได้ทบทวนเรื่องที่ไปดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลย์เวช ครูได้ถามนักศึกษาว่าได้อะไรจากการไปศึกษาในสถานที่ฝึกสอนจริงบ้าง ก็ต่างสนทนาพูดคุยกันอยู่พักใหญ่ครูก็ได้แจกกระดาษให้คนล่ะ 1 แผ่นเพื่อทำมายแมพเกี่ยวกับสาระที่เด็กเรียนรู้ ครูก็ได้อธิยายวิธีการทำและกำหนดหัวข้อ และให้ลงมือทำ

เรื่องที่เรียนในวันนี้
1.สนทนาพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่ไปศึกษาดูการเรียนการสอนที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลย์เวช
2.ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.ความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรม
4.วิธีกำหนดเรื่องเกี่ยวกับสาระที่เด็กควรรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเด็กปฐมวัย
5.การทำมายแมพที่เป็นใยสมองแตกย่อยออกเป็น 3 ระดับ คือ
   - หัวข้อใหญ่
   - หัวข้อรอง
   - หัวข้อย่อย/แตกย่อย
6.การวางโครงเรื่องที่จะสอน

ความรู้ที่ได้รับ


การทำ mind map      

- เป็นการทำ เรื่องราวทั้งหมดของหน่วยที่เราจะเลือก เราจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเรื่องนั้น เช่น ประเภท ลักษณะ ประโยชน์ โทษ เพื่อจะใช้ว่าจะสอนอะไรกับเด็ก การเลือกเรื่องต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ผลไม้ ผัก ยานพาหนะ โรงเรียนของฉัน ดอกไม้ น้ำ ของเล่นของใช้ สัตว์ ข้าว เป็นต้น
หน่วยที่เลือกนั้นเลือกตามสาระการเรียนรู้ 4 สาระ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก

4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

        - ในการไปศึกษาดูงานไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม เราควรที่จะศึกษาประวัติข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เสียก่อนเพื่อจะได้ทราบถึงพื้นฐานและการวางตัวอย่างไร และเป็นการให้เกียรติแก่สถานที่นั้นๆ รวมทั้งบุคลากรต่างๆก็ควรแก่การศึกษา เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานเป็นแนวทางในการศึกษาดูงานจะดำเนินต่อไป

       - กิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นั้นจะมีทุกกิจกรรมที่สอดคล้อมคณิตศาสตร์อยู่เสมอ  เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหว การให้เด็กแตะไหล่-ยกขึ้นกลางทำซ้ำๆกันไปมาเรื่อยๆ การสอนแบบนี้ เรียกว่าการสอนแบบพีชคณิต เรื่อง อนุกรม

      - ความสัมพันธ์ของตัวเลขและคณิตศาสตร์ เช่น 531-357 จะสังเกตได้ว่า 251 เป็นการลดจำนวนทีละ 2 และ 357 เป็ฯการเพิ่มจำนวนทีละ 2

     - การกำหนดเรื่องที่จะใช้สอนเริ่มจาก
1. กำหนดเรื่องให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่จะสอน
2. แบ่งชนิดหรือประเภทของหัวเรื่องที่จะสอน บางเรื่องสามรถแบ่งได้และบ้างเรื่องไม่สามารถแบ่งได้
3. ลักษณะของเรื่อง เช่น สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง กลิ่น รส ส่วนประกอบ เป็นต้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องของตนเอง
4. การดำรงชีวิตแต่ละเรื่อง ไม่เหมือนกัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การดูแลรักษา สิ่งไม่มีชีวิต และการขยายพันธ์ุ ของสิ่งมีชีวิตว่าเป็นอย่างไร
5. ประโยชน์ของเรื่อง
6. โทษและข้อควรระวัง

***************************************************************

นำเสนอ บทความ งานวิจัย และวิดีโอ หน้าชั้นเรียน เลขที่ 16, 17, และ 18

วิดีโอ

วิดีโอ ที่ไม่ไดพรีเซ้นสัปดาห์ที่แล้ว
นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์  เลขที่ 15

วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมพิมพภาพจากการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติ

หลักการสอนคณิตศาสตรไวดังนี้
1. สอนใหสอดคลองกับชีวิตประจําวันการเรียนรูของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็น ความจําเปน และประโยชนของสิ่งที่ครูกําลังสอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตรแกเด็กจะตอง สอดคลองกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน เพื่อใหเด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตรทีละนอย และ ชวยใหเด็กเขาใจเกี่ยวกับคณิตศาสตรในขั้นตอไปแตสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การใหเด็กไดปฏิสัมพันธ กับเพื่อนกับครูลงมือปฏิบัติดวยตนเอง

2. มีเปาหมายและมีการวางแผนที่ดีครูจะตองมีการเตรียมการเพื่อใหเด็กไดคอย ๆ พัฒนาการเรียนรูขึ้นเองและเปนไปตามแนวทางที่ครูวางไว

3. เปดโอกาสใหเด็กไดรับประสบการณที่ทําใหพบคําตอบดวยตนเอง เปดโอกาส ใหเด็กไดรับประสบการณที่หลากหลาย และเปนไปตามสภาพแวดลอมที่เหมาะสม มีโอกาสไดลง มือปฏิบัติจริง ซึ่งเปนการสนับสนุนใหเด็กไดคนพบคําตอบดวยตนเอง พัฒนาความคิดรวบยอด และความคิดรวบยอดไดเองในที่สุด

4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรูและลําดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก ครู ตองมีการเอาใจใสเรื่องการเรียนรูเกี่ยวกับคณิตศาสตร โดยเฉพาะลําดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบ ยอด ทักษะทางคณิตศาสตรโดยคํานึงถึงหลักทฤษฎี

5. ใชวีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใชในการวางแผนและจัดกิจกรรม การจด บันทึกดานทัศนคติ ทักษะ และความรูความเขาใจของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมตาง ๆ เปนวิธีการที่ทํา ใหครูวางแผนและจัดกิจกรรมไดเหมาะสมกับเด็ก

บทบาทของครูในการจัดประสบการณดานคณิตศาสตร  กลาววา การจัดประสบการณและกิจกรรมทางดาน คณิตศาสตรที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย ตองมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผูเกี่ยวของ 43 ตองศึกษาและทําความเขาใจเพื่อจะไดดําเนินการไดอยางถูกตองและเปนประโยชนตอการเรียนรู ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด ซึ่งมีนักการศึกษาไดเสนอแนะบทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย สรุปถึงบทบาทของครูวา การจัดการเรียนการสอนของครูที่มีคุณภาพ ควรจะเปนปจจุบันกับเหตุการณและไมเปนทางการ แตไมไดหมายความวาจะมีการวางแผนหรือไมมีระบบบทบาทของครูในการจัดประสบการณ ดานคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย ครูจะตองมีความรับผิดชอบสูงมีการวางแผนการจัดสิ่งแวดลอม แหงการเรียนรูใหกับเด็กซึ่งจะทําใหเด็กแสวงหาคําตอบ การจัดกิจกรรมเหลานี้เปนการวางพื้นฐาน ความคิดรวบยอดคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย


ภาพการนำเสนอวิดีโอ



การนำเสนอโทรทัศน์ครู  
นางสาวจิราภรณ์   ฝักเขียว

วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่


กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น


ภาพการนำเสนอวิจัย



สรุปวิจัย  (แก้ไข) เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้

-ความมุ่งหมายของวิจัย
  เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สมมติฐานในการวิจัย
             เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

-ขอบเขตการวิจัย
             นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สรุปผลวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้

กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

ขั้นสอน
1.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
2.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
3.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ

ขั้นสรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก

**********************************************************************************

ทักษะที่ได้
1.ทักษะองค์ประกอบความรู้
2.ทักษะการสังเกต
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการบูรณาการการเรียนคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
5.ทักษะการการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์
7.ทักษะการกำหนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของเด็ก

การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถนำประสบการณ์การในชีวิตประจำวันมาใช้กับการเรียนคณิตศาสตร์
3.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง 

เทคนิคการสอนของอาจารย์
1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ  
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย

3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมิณ

ประเมิณตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังครูอธิบายและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายส่งในคาบ และมีส่วนร่วมในการถามตอบครูผู้สอน 

ประเมิณเพื่อน : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีการเสนอแนะข้อคิดเห็นระหว่างเรียน

ประเมิณอาจารย์ : แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม มีสื่อและเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี มีการเรียนเป็นระบบระเบียบ และอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ทำให้เข้าใจและสามารถทำกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น