วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน จันทร์ ที่ 25 เดือน เมษายน เวลา 8.30-12.30 น.(เรียนชดเชย)


บรรยากาสในชั้นเรียน
           วันนี้ครูให้ย้ายมาเรียน ตึกคณะศึกษาศาสตร์ อาคาร 4 ชั้น 3 ซึ่งสะดวกต่อการทำกิจกรรมที่ใช้อุปกรณ์เพราะอยู่ใกล้ห้องพักครู สามารถเข้าออกได้ง่ายสะดวกต่อการทำกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติ วันนี้ก็นั่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ครูแจกใบงาน เป้นหัวข้อให้เติมคำอธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ที่แต่ล่ะกลุ่มได้ทำ กลุ่มดิฉันเป็นหน่วยกล้วย และจะมีแผนทั้งหมด 5 แผน 5 วัน จันทร์ภึงศุกร์ ก็นำมาเขียนลงในใบงานด้วยและช่วยกันระดมความคิด สำหรับหัวข้อย่อยอื่นๆ

ภาพกิจกรรมวันนี้



อธิบายพร้อมภาพประกอบ

สาระการเรียนรู้
     *หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖: โครงสร้างของหลักสูตร
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก^
รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก^
รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและปฎิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

ธรรมชาติรอบตัว
รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ

สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การประสามสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
การรักษาสุขภาพ
การรักษาความปลอดภัย


ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ดนตรี
สุนทรียภาพ
การเล่น
คุณธรรมจริยธรรม

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
การวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ
การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพ ความคิดเห็นของผู้อื่น
การแก้ปัญหาในการเล่น
การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
การคิด
การใช้ภาษา
การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
จำนวน
มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
เวลา

ภาพกิจกรรม

สรุปเนื้อหาพอสังเขป

หลังจากการจัดประสการณ์ให้กับเด็ก หน่วยกล้วย เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1.เด็กสามารถแยกชนิดของกล้วยได้
2.เด็กบอกลักษณะภายนอก/ภายใน กลิ่น และรสชาติ ของกล้วยได้
3.เด็กรู้วิธีการเก็บรักษาหรือการถนอมกล้วยไว้กินนานๆได้
4.เด็กรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5.เด็กรู้จักวิธีการแปรรูปกล้วยที่หลากหลาย

การบูรณาการรายวิชา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-พลศึกษา
-ศิลปะ
-สังคม
-ภาษา

ทักษะ
1.ทักษะการนำเสนอ
2.ทักษะการแสดงความคิดเห็น
3.ทักษะการฟังและตอบคำถามอย่างมีเหตุผล
4.ทักษะการคิดรวบยอด
5.ทักษะการบูรณาการ
6.ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 6 กิจกรรมหลัก มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กและพัฒนาการทั้ง 4 ด้านแต่ล่ะช่วยวัย  รวมถึงหลักหรือวิธีการในการบูรณาการรายวิชาต่างๆ การกำหนดหน่วยในการเรียนการสอน เช่น หน่วยผลไม้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยอาชีพ เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นสิ่งสำคัญที่คนเป็นครูอนุบาลอย่างเราควรจะนำไปประใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

เทคนิคการสอน
1.สนทนาถาม-ตอบ 
2.เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
3.อธิบาย บรรยาย ราบละเอียด
4.ทบทวนความรู้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและจดรายละเอียด ทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งกายเหมาะสม มีความพร้อม ทั้งความรู้บุคลิกภาพและการอธิบายรายละเอียด ให้คำแนะนำที่ดีเสมอ 

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วัน พุธ ที่ 20 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาสในชั้นเรียน
               ครูและนักศึกษาเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในการเรียนการสอนในวันนี้ก็เป็นไปอย่างราบลื่นเพื่อนๆและครูก็ต่างให้ความสนใจกันและกัน ร่วมสนทนาพูดคุยถาม-ตอบ ซึ่งในวันนี้เราได้ออกไปนำเสนอนิทานที่ไดร่างโครงร่างไว้แล้วเป็นแนวทางก่อนลงรายละเอียดก็จะต้องมีการแก้ไข ครูจึงได้แนะนำเพิ่มเติมและนำไปแก้ไขและทำให้สมบูรณ์จึงจะนำมาส่งได้

สาระการเรียนรู้ 

นำเสนอนิทาน


กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
ประโยชน์และโทษของกล้วย
นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด
                  เนื้อเรื่องพอสรุปได้ว่า เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกล้วย ตัวละครคือเด็ก แต่เพื่อนไม่ได้ระบุตัวละครจึงไม่มีความเด่นชัดว่าตัวละครตัวไหนเป็นผู้ดำเนินเรื่องราว แต่ครูได้แนะนำไปแล้ว ในเนื้อหาก็ได้บอกส่วนประกอบของต้นกล้วยและแต่ละส่วนสามารถนำไปทำอะไรได้บ้างอย่้างเช่น ใบกล้วย สามารถนำไปทบายศรี  ทำกระทง ห่อขนม เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวไปเมื่อสักครู่นั้นสามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้นะ ได้ยังไงหน่ะหรอ ก็เรื่องของ รูปทรงของใบกล้วยไงหล่ะ อย่างทำกระทงก็ต้องพับ 3 เหลี่ยม บายศรีก็มีหลายชั้น 1 2 3 เป็นการนับจำนวนได้ บอกรูปร่าง รูปทรง จำนวน ขนาด นอกจากนี้ก็จะเป็นก้าน ลำต้นและผลของกล้วย ก็จะบอกประโยชน์และโทษค่ะ


กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
ประโยชน์ของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
                  เพื่อนทำเป็นนิทานคำกลอนค่ะ ฟังแล้วลื่นหูเข้าใจง่ายบอกถึงประโยชน์ของเล่น ตัวละครที่ดำเนินเรื่องมีชื่อว่า หนูจิน ตามชื่อเรื่องข้างต้นค่ะ ซึ่งได้บอกถึงปรธโยชน์ของเล่น และของใช้ในชีวิตประจำวัน และเปรียบเทียบระหว่างของเล่นกคือของที่ใช้เลียนแบบของจริง ส่วนของใช้ก็คือของที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และในการบูรณาการคณิตศาสตร์เพื่อนก็ได้ใช้วิธีการจับคู่ จากเรื่องราวที่เพื่อนได้แต่งก็จะสอนเกี่ยวกับของที่มีคู่เช่น เสื้อคู่กับกระโปรง-กางเกง ถุงเท้าคู่กับรองเท้า ช้อนคู่กับซ่อมเป็นต้นค่ะ

กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
ประโยชน์ของผลไม้

นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
                  เพื่อนใช้วิธีการแต่งเป็นคำคล้องจอง บอกถึงประโยชน์ของผลไม้แต่ละชนิด คำน้อยแต่เน้นเป็นภาพ คล้ายหนังสือภาพค่ะ ในเนื้อเรื่องพูดถึงประโยชน์ของผลไม้ เช่น เชอร์รี่ มีรสเปี้ยวหวานช่วยบำรุงผิวพรรณเปล่งปลั่ง เป็นต้น ซึ่งครูได้แนะนำเพิ่มเติมว่า ให้ใช้เป็นขนาดรูปทรงของผลไม้ใส่ในเนื้อหา เช่น องุ่นผลกลมโตรสหวาน  เชอร์รี่ผลแดงลูกเล็กๆ  แตงโมผลใหญ่ใหญ่  เป็นต้น จะสามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ขนาด รูปทรง รูปร่าง หรือจำนวนเพิ่มมาก็ได้แล้วแต่ว่าเราจะใช้หลักใดในการแต่ง  

กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
วิธีการดูแลรักษา
นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ
                   เพื่อนกลุ่มยานพาหนะใช้เป็นหนังสือภาพ เป็นภาพแล้วเล่าเรื่องราวด้วยผู้อ่านเป็นผู้ดำเนินเรื่องราว โครงร่างคลายๆเรื่องหนูน้อยหมวกแดงแค่คลายนะค้ะ แต่เพื่อนเก่งมีการปรับประยุกต์เอาเนื้อหาสาระของเรื่องที่น่าสนใจใช้เป็นการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องราวจะบอกถึงการดูแลรักษา  การตรวจสภาพรถ เช่นการเอารถไปซ้อม การเช็ดล้างรถ เป็นต้น ในการบูรณาการคณิตศาสตร์ก็จะใช้เป็นเรื่องเวลา และจำนวนผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่จะนำไปฝากคุณยาย ทิศทางการเดินทาง 


สรุปกิจกรรม
             ครูได้แนะนำเพิ่มเติม และบอกวิธีแก้ไขเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนิทานและหน่วยของแต่ละกลุ่ม ครูบอกถึงรายละเอียดของเนื้อเรื่อง ส่วนภาพไม่ต้องระบายสีแค่วาดโครงร่างมา แต่ถ้าเนื้อเรื่องระบุถึงสีก็ควรที่จะระบายส่วนที่ระบุมาด้วย เมื่อแก้ไขเสร็จก็เย็บเล่มจัดทำให้ดูดีสมบูรณืก่อนนำมาส่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ค่ะ

ทักษะ
1.ทักษะการนำเสนอ
2.ทักษะการบูรณาการ
3.ทักษะการออกแบบดีไซต์
4.ทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหา
5.ทักษะการวางโครงเรื่องให้สัมพันธ์กัน
6.ทักษะการคิดรวบยอด
7.ทักษะการบรรยายหรือเล่าเรื่อง
8.ทักษะการใช้เหตุผล

การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำความรู้จากการวางโครงเรื่อง ให้สัมพันธ์กับวิชาที่บูรณาการ การเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ สาระการเรียนรู้ เป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติในการสอนเด็กปฐมวัยที่มีความหลากหลาย และแปลกใหม่ น่าสนใจ คิดออกแบบสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์
1.บรรยาย อธิบาย อย่างระเอียด
2.สนทนาถาม-ตอบ
3.ให้นักศึกษารู้จักค้นเรียนรู้ด้วยตัวเอง
4.เทคนิควิธีการที่แปลกใหม่เสมอ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความสนใจครูผู้สอนในขณะที่ครูพูดอยู่ ตั้งใจฟังและจดตามเพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา รับผิดชอบงาน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจจดงานและปฏิบัติตาม

ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบดหมาะสม เผยแผ่ความรู้สู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีความรู้ที่ให้นักศึกษานำไปประปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 


วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในชั้นเรียนวันนี้

               วันนี้ทุกคนต่างมาพร้อมเพียงกัน ตรงต่แเวลา เมื่อมาครบพร้อมหน้าพร้อมตา ครูเริ่มทำการสอน ให้เพื่อนที่ติดค้างการนำเสนอ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เมื่อนำเสนอเสร็จ ก็ให้นักศึกษาจัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่ม เพื่อระดมความคิดและเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ต่างๆในการออกไปนำเสนอ แผนการสอนของ วันจันทร์ และวันอังคาร ตามหัวขอที่กลุ่มได้เขียนแผนไว้ แล้วให้ออกไปนำเสนอ พร้อมคำแนะนำของครูผู้สอนพื่อนนำไปปรับพรุ่งในแผน วัน พุธ พฤหัส ศุกร์ต่อไป

นำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน 
ภาพกิจกรรมที่ 1 

นำเสนอแผนการสอนของวิจัย  โดยนายอารักษ์  ศักดิกุล

นำเสนอวิจัย เรื่อง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

นำเสนอโดย นายอารักษ์  ศักดิกุล เลขที่ 17

        การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้

 ความมุ่งหมายของการวิจัย

       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่

กลุ่มตัวอย่าง  

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปังแผ่นแต่งหน้า
 
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการรับรู้ประสาทสัมผัส 
3. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู 
4. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู 
5. เพื่อให้นักเรียนได้ส่งเสริมการแสดงออก 
6. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปังแผ่นแต่งหน้า

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอ่ย เป็นแผ่น  สีขาว  นิยมทานคู่กับแยม   
2. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกัน  ดังนี้    
     2.1 ขนมปังมีลักษณะอย่างไร  มีสีอะไร    
     2.2 ขนมปังมีสีอะไร  รสชาติเป็นอย่างไร  มีใครเคยทานบ้าง    
     2.3 นักเรียนคิดว่าขนมปังทํามาจากอะไร    
     2.4 นักเรียนคิดว่าขนมปังมีประโยชน์ไหม  และมีประโยชน์อย่างไร 

ขั้นสอน  
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณ์ตามความสนใจของตนเอง 
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปังแผ่นรูปทรงต่างๆ แยมผลไม้  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหน้า ทา วาด เขียน เพื่อสร้างชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแล้วให้นําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไว้ที่หน้าชั้นเรียน  
4. เด็กช่วยกันเก็บของ  ทําความสะอาดให้เรียบรู้อยู่

ขั้นสรุป  
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนาร่วมกับครู  ดังนี้   
     1.1 นักเรียนใช้ขนมปังรูปทรงใดบ้างมาทํากิจกรรม   
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ต่างกัน  ต่างกันอย่างไร   
     1.3 ขนมปังของนักเรียนมีอะไรซ้อนอยู่ข้างใน   
     1.4 นักเรียนคิดว่าระหว่างแยมผลไม้ กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปัง ต่างกันหรือ เหมือนกันอย่างไรบ้าง  

สื่อการเรียน 
1. ขนมปังแผ่นรูป 
2. แยมผลไม้บรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมส้ม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอร์รี่  แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
5. ผ้าพลาสติกปูโต๊ะ 
6. ถาดสําหรับใส่ขนม 

การประเมินผล 
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   

************************************************************************

กิจกรรมที่ 2 สอนตามแผน ของวันจันทร์ และ อังคาร

นำเสนอการสอน กลุ่มวันจันทร์เรื่อง ประเภทยานพาหนะ





กลุ่มที่ 1 นำเสนอการสอน เรื่องประเภทยานพาหนะ

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
           1.สอนเด็กร้องเพลง ยานพาหนะ
 เพลง ยานพาหนะ
ยานพาหนะ  ยานพาหนะ
มีมากมาย  มีมากมาย
รถเครื่องบินและเรือใบ รถเครื่องบินและเรือใบ
ดูน่าชม  ดูน่าชม

         2.ใช้เพลงทดสอบความจำของเด็ก และสังเกตว่าเด็กตั้งใจฟังเพลงหรือไม่  เช่น เพลงที่เด็กๆร้อง มียานพาหนะอะไรบ้าง
          3.ใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น เด็กๆ มาโรงเรียนโดยใช้ยานพาหนะอะไร

ขั้นสอน
1.มีกล่องโรงรถใส่รูปยานพาหนะ และหยิบออกมาถามเด็กว่า นี้คือยานพาหนะอะไร
2.ให้เด็กนับว่ามีจำนวนยานพาหนะทั้งหมดเท่าไหร่
3.ให้เด็กใส่เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนยานพาหนะว่าทั้งหมดเท่าไหร่
4.บอกเกณฑ์จัดสถานที่ของยานพาหนะ
5.จัดหมวดหมู่ยานพาหนะแต่ละประเภท และให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมโดยนำภาพยานพาหนะไปแปะบนสถานที่ ที่เหมาะสม
6.ทำกราฟแผนภูมิยานพาหนะที่มากที่สุด และน้อยที่สุด หรือมากกว่า น้อยกว่า นำมาเปรียบเทียบให้เด็กเห็นภาพ

ขั้นสรุป
          1.เด็กๆ รู้จักยานพาหนะอะไรบ้าง โดยแบ่งประเภททางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ควรเลือใช้ปริศนาคำทายที่ตรงกับกิจกรรม
-ควรมีการเตรียมภาชนะใส่สื่อ
-ไม่ควรพูดเร็วจนเกินไป พูดให้ชัดเจน ฉะฉาน ออกเสียง ร,ล เช่นคำว่า "ครู"

นำเสนอการสอน กลุ่มวันจันทร์เรื่อง ประเภทของเล่น ของใช้



กลุ่มที่ 2 นำเสนอการสอน เรื่อง ประเภทของเล่นของใช้

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
          1.สอนเด็กร้องเพลง เก็บของ
          2.พูดคุยกับเด็กว่ามีอะไรอยู่ในถุงบ้าง และอะไรเป็นของเล่น อะไรที่เป็นของใช้

*หมายเหตุ ขั้นสอนและสรุปจดไม่ทันค้ะ

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ควรเลือกเพลงให้เหมาะสมกับเด็กในการสอน ควรตั้งเกณฑ์ ของเล่น,ใช้
-ควรเลือใช้ภาชนะใส่สื่อที่เหมาะสมดูแข็งแรงสวยงาม
-นำคณิตศาสตร์ เรื่อง การจำแนก จำนวน การนับ และการเปรีบเทียบเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสม
-ถามเโ้กว่าเด็กรู้จัก ของเล่น,ของใช้ และประโยชน์อะไรบ้าง

การนำเสนอการสอน กลุ่มวันอังคารเรื่อง ลักษณะผลไม้



กลุ่มที่ 3 นำเสนอการสอน เรื่อง ลักษณะผลไม้

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
          1.ปริศนาคำทาย ผลไม้
             - ฉันมีรูปร่างเป็นวงกลม เปลือกมีสีม่วง เปลือกกินได้ ฉันคืออะไร ? (องุ่น)
             - ฉันมีรูปร่างเป็นวงรี เปลือกฉันมีสีเหลือง  เนื้อสีเหลือง ฉันคืออะไร? (มะยมชิด)

ขั้นสอน
         1.สังเกตและหยิบมะยมชิดและองุ่นให้มีจำนวนพอกับเด็ก และให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถามเด็กเรื่อง สี , รูปทรง , ขนาด . ส่วนประกอบ , รสชาติของผลไม้เป็นอย่างไร
         2.ให้เด็กๆ บอกลักษณะของผลไม้โดยวิเคราะห์ตามตาราง
         3.โดยมีชื่อผลไม้ , สี , รูปทรง , ขนาด , ส่วนประกอบ , รสชาติ

ขั้นสรุป
         -ครูและนักเรียนสนทนาพูดคุย ถาม-ตอบ  เกี่ยวกับลักษณะของผลไม้

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
ตา = ดู รูปทรง ขนาด สัดส่วน สี ฯลฯ
หู =  ฟังเสียง ฟังข้อมูงการใช้การฟังประสานกับการมองเห็นและประสัมผัสส่วนอื่นๆ
จมูก = ดมกลิ่นว่ามีกลิ่นแบบไหนบ้าง เช่น เหม็น หอม ฉุน เป็นต้น
ปาก = ชมรสว่ามรสชาติอย่างไร เช่น รสเปี้ยว หวาน มัน เค็ม จืด เป็นต้น
การสัมผัส(มือ) = การสัมผัส การจับ จับดูว่ามีพื้นผิวแบบไหนเช่น ผิวหยาบ ลื่น กระด้าง นุ่ม เป็นต้น
-ถามเด็กว่าเด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้าง  พร้อมการจะบันทึกตามที่เด็กพูด
-ควรที่จะจัดอุปกรณ์ สื่อที่เตรียมพร้อมในการสอนเรื่องผลไม้
-ควรวางแผนการจัดกิจกรรมใหเป็นระบบมากกว่านี้

การนำเสนอการสอน กลุ่มวันอังคารเรื่อง ลักษณะของกล้วย



กลุ่มที่ 4 นำเสนอการสอน เรื่อง ลักษณะกล้วย

แผนการจัดประสบการณ์ 

ขั้นนำ
          1.ครูเริ่มด้วยเพลงและถามเด็กว่าในเพลง ทรงกล้วยมีลักษณะอะไรของกล้วยบ้างและนอกจากเพลงนี้ยังมีลักษณะอะไรอีกบ้าง

ขั้นสอน
          1.นำกล้วยออกมาให้เด็กดูที่ละ 1 ชนิด พร้อมให้เด็กสังเกต โดยถามเด็ก เช่น เด็กๆ สังเกตเห็นสีของกล้วยทองสิว่ามีสีอะไร เป็นต้น (รูปทรง , ส่วนประกอบ , กลิ่น , รสชาติ , ขนาด) และครูต้องบันทึกสิ่งที่เด็กพูดในทันที
          2.ครูและเด็กร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะของกล้วย ให้ดูที่ความเหมือนและความต่างของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่ ว่ามีอะไรบ้าง ที่เหมือน/ต่าง กัน

ขั้นสรุป
          1.ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยใช้กล้วยหอมทองและกล้วยไข่ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน เช่น สีเหลือง ทรงรี เปลือก เนื้อ เมล็ด หอม หวาน และความต่างกัน เช่น กล้วยหอมทองยาวและใหญ่กว่ากล้วยไข่ เป็นต้น

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ให้เด็กได้ฝึกใช้ทักษะการสังเกตและการบันทึกข้อมูลของเด็กลงในตาราง
-ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
-ครูควรปฏิบัติกิจกรรมให้เด็กดูที่ละขั้น
-เตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม
-ให้เด็กดูลักษณะสิ่งที่เหมือนกันก่อนเพราะจะง่ายในการสังเกตมากกว่าความต่าง (เพราะกล้วยมีความคล้ายคลึงกันและละเอียดในการสังเกตความต่าง)

จบกิจกรรมการนำเสนอการสอน โดยใช้แผนการจัดประสบการณืเป็นตัวดำเนินการ

********************************************************************
ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การพูดชัดเจน การอธิบายรายละเอียดอย่างครอบคลุม
5.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน
7.ทักษะการในการตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงกับวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการตัดสินใจเลือกิจกรรมที่เหมาะสม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.รู้จักการจัดกิจกรรมที่ถูกต้องและเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติในการสอนในครั้งต่อไปอย่างถูกต้อง
2.รู้จักสอดแทรกกิจกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3.จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัน
4.มีการวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เด็กเข้าใจง่าย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
1.ให้นักศึกษาเรียนรู้และนำเสนองานต่างๆอย่างเป็นระบบ เป็นการถ่ายทอดความรู้ไสู่เพื่อนๆในชั้นเรียน
2.สนทนาพูดคุย ถาม-ตอบ การแสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
3.การจำลองสถานการณ์จริง
4.การให้รายละเอียดข้อมูล โดยการอธิบาย อย่างชัดเจน
5.การแนะนำเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

ประเมิณผล

ประเมิณตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ช่วยเพื่อนๆระดมความคิด และออกไปนำเสนองานร่วมกับเพื่อน ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรมตั้งแต่ต้น จนจบกิจกรรม

ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และนำเสนองานของกลุ่มตนเองได้ลุล่วง

ประเมิณอาจารย์ : ตรงต่อเวลา พูดคุยสอบถามก่อนทำกิจกรรม และคอย ให้คำแนะนำหลังจากที่จบการนเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข 

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  11

วัน พุธ ที่ 23 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559  เวลา 8.30-12.30 น.


บรรยากาศการเรียนวันนี้
           วันนี้ทุกคนมาพร้อมเพียงกันค่ะ คุรครูก็มาพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นเวลาที่พอเหมาะในการเรียนการสอน และได้เรียนตึกใหม่ ที่เป็นห้องเรียนรวม บรรยากาศโล่งสบาย แอร์เย็นช่ำ เพื่อมาเรียนกันครบ 20 คน และมีการสนทนาโต้ตอบเรื่องต่างๆ และให้นักศึกษาออกมานำเสนอชั้นเรียน

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่ 1 นำเสนอ บทความ,วิจัย,วิดีโอ

แก้ไขบทความของสัปดาห์ที่แล้ว 

บทความเรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต
ของนางสาวชื่นนภา เพิ่มพูน เลขที่ 16


           “จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกันที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน; 29)
                จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ
(1)หาสิ่งที่ต้องการทราบ
(2)ว่างแผนการแก้ปัญหา
(3)ค้นหาคำตอบ
(4)ตรวจสอบ
               จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด

                ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


นำเสนอบทวามของสัปดาห์นี้

ภาพการนำเสนอดิฉันเองค่ะ

นำเสนอบทความ

 นางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา เลขที่ 19

บทความ เรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บรรยายโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ

นำเสนอบทความโดย นางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา  เลขที่ 19

เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ
-การ เรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง... 
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
     คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
-การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
-การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ
เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้
ความรู้เพิ่มเติม
ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป   ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้นอาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

      1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป

      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้

      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ

      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้

      5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

      6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย

    7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
        1. ทักษะในการจัดหมู่
        2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
        3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)


กิจกรรมที่ 2 เป็นกิจกรรมการเขียนแผน

ภาพกิจกรรม



ครูอธิบายและแนะนำการเขียนแผน

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำโครงร่างของหัวข้อ mind map ที่เราเขียนร่างไว้ออกมานำเสนอ ซึ่ง จะมี 5 หัวเรื่อง 5 วัน แบ่งเป็นวันจันทร์หัวเรื่องที่ 1 วันอังคารหัวเรื่องที่ 2 วันพุธหัวเรื่องที่ 3 วันพฤหัสบดีหัวเรื่องที่ 4 และวันศุกร์หัวเรื่องที่ 5

การเขียนแผนทั้ง 5 วัน มีหัวข้อดังนี้
1.วันจันทร์ ประเภท หรือ ชนิด
2.วันอังคาร ลักษณะ
3.วันพุธ การดูแลรักษา
4.วันพฤหัสบดี ประโยชน์
5.วันศุกร์ ข้อควรระวัง


นี่งเป็น กลุ่ม 4 กลุ่ม 


โดยอาจารย์ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มนั่งเรียงตามวันที่แต่ละคนไปร่างแผนมา และอาจารย์ถามแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์ หัวข้ออะไรและจัดกิจกรรมอะไร กลุ่มของดิฉันคือหน่วยกล้วย

1.ชนิด – ของกล้วย
2.ลักษณะ –   สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง
3.ประโยชน์ – สามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง ผลิตเป็นยา อาหาร ฯลฯ
4.การถนอม –  ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมพัฒนาการ
5.ข้อควรระวัง – กินมากๆท้องอาจจะอืด  แน่นท้อง  หรือเก็บไว้ได้ในระยะเวลาที่สั้นอาจมีกลิ่นเหม็นเน่าเป็นต้น

สำหรับวันจันทร์กลุ่มของดิฉันใช้กิจกรรมแยกประเภทชนิดของกล้วย คือ ให้เด็กสามารถแยกชนิดของพันธุ์กล้วยได้  อาจารย์ให้คำเสนอแนะว่าเราต้องมีการบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปร่วมด้วยแต่ละหน่วยที่เรานำมาจัดกิจกรรมนั้นสามารถบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้หากเรารู้จักวิธีการใช้ และแต่ละหน่วยจะมีลักษะที่แตกต่างกัน เช่น หน่วยผลไม้  หน่วยของเล่นของใช้  หน่วยยานพาหนะ ทำให้เราสามารถเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างหลากหลายวิธี เพราะเด็กต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิธีการเรียนรู้ ดังนั้นครูจำเป็นจะต้องมีเทคนิคที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้กับเด็ก

เมื่ออาจารย์สรุปแนะนำวิธีการทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว อาจารย์จึงให้นักศึกษาลองนำไปใช้เพื่อเขียนแผนสำหรับนำไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการนำเสนอผลงาน
3.ทักษะการเขียนแผน
4.ทักษะการเชื่อมโยง
5.ทักษะองค์ประกอบความรู้
6.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
7.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
8.ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัย ได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  

เทคนิคการสอนของอาจารย์
1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมไปด้วย
5.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ
6.การหาแนวคิด วิธีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลาย และนำมาปรับพร้อมกับพูดคุยวิธีการเขียนแผนในรูปแบบของอาจารย์

ประเมิณผล
ประเมิณตนเอง : ตรงต่อเวลา รับผิดชอบงาน ร่วมทำกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกับครูและเพื่อนๆ 
ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึกสาระการเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม
ประเมิณอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียนร้อยสวยงาม น่าเคารพสุขุม มีการอธิบายรายละเอียดที่ชัดเจน แนะนำแหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา