วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน จันทร์ ที่ 25 เดือน เมษายน เวลา 8.30-12.30 น.(เรียนชดเชย)


บรรยากาสในชั้นเรียน
           วันนี้ครูให้ย้ายมาเรียน ตึกคณะศึกษาศาสตร์ อาคาร 4 ชั้น 3 ซึ่งสะดวกต่อการทำกิจกรรมที่ใช้อุปกรณ์เพราะอยู่ใกล้ห้องพักครู สามารถเข้าออกได้ง่ายสะดวกต่อการทำกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติ วันนี้ก็นั่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ครูแจกใบงาน เป้นหัวข้อให้เติมคำอธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ที่แต่ล่ะกลุ่มได้ทำ กลุ่มดิฉันเป็นหน่วยกล้วย และจะมีแผนทั้งหมด 5 แผน 5 วัน จันทร์ภึงศุกร์ ก็นำมาเขียนลงในใบงานด้วยและช่วยกันระดมความคิด สำหรับหัวข้อย่อยอื่นๆ

ภาพกิจกรรมวันนี้



อธิบายพร้อมภาพประกอบ

สาระการเรียนรู้
     *หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖: โครงสร้างของหลักสูตร
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก^
รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก^
รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและปฎิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

ธรรมชาติรอบตัว
รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ

สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การประสามสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
การรักษาสุขภาพ
การรักษาความปลอดภัย


ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
ดนตรี
สุนทรียภาพ
การเล่น
คุณธรรมจริยธรรม

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
การวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ
การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพ ความคิดเห็นของผู้อื่น
การแก้ปัญหาในการเล่น
การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
การคิด
การใช้ภาษา
การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
จำนวน
มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
เวลา

ภาพกิจกรรม

สรุปเนื้อหาพอสังเขป

หลังจากการจัดประสการณ์ให้กับเด็ก หน่วยกล้วย เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1.เด็กสามารถแยกชนิดของกล้วยได้
2.เด็กบอกลักษณะภายนอก/ภายใน กลิ่น และรสชาติ ของกล้วยได้
3.เด็กรู้วิธีการเก็บรักษาหรือการถนอมกล้วยไว้กินนานๆได้
4.เด็กรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5.เด็กรู้จักวิธีการแปรรูปกล้วยที่หลากหลาย

การบูรณาการรายวิชา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-พลศึกษา
-ศิลปะ
-สังคม
-ภาษา

ทักษะ
1.ทักษะการนำเสนอ
2.ทักษะการแสดงความคิดเห็น
3.ทักษะการฟังและตอบคำถามอย่างมีเหตุผล
4.ทักษะการคิดรวบยอด
5.ทักษะการบูรณาการ
6.ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 6 กิจกรรมหลัก มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กและพัฒนาการทั้ง 4 ด้านแต่ล่ะช่วยวัย  รวมถึงหลักหรือวิธีการในการบูรณาการรายวิชาต่างๆ การกำหนดหน่วยในการเรียนการสอน เช่น หน่วยผลไม้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยอาชีพ เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นสิ่งสำคัญที่คนเป็นครูอนุบาลอย่างเราควรจะนำไปประใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

เทคนิคการสอน
1.สนทนาถาม-ตอบ 
2.เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
3.อธิบาย บรรยาย ราบละเอียด
4.ทบทวนความรู้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและจดรายละเอียด ทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา แต่งกายเหมาะสม มีความพร้อม ทั้งความรู้บุคลิกภาพและการอธิบายรายละเอียด ให้คำแนะนำที่ดีเสมอ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น