วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 30 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในชั้นเรียนวันนี้

               วันนี้ทุกคนต่างมาพร้อมเพียงกัน ตรงต่แเวลา เมื่อมาครบพร้อมหน้าพร้อมตา ครูเริ่มทำการสอน ให้เพื่อนที่ติดค้างการนำเสนอ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เมื่อนำเสนอเสร็จ ก็ให้นักศึกษาจัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่ม เพื่อระดมความคิดและเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ต่างๆในการออกไปนำเสนอ แผนการสอนของ วันจันทร์ และวันอังคาร ตามหัวขอที่กลุ่มได้เขียนแผนไว้ แล้วให้ออกไปนำเสนอ พร้อมคำแนะนำของครูผู้สอนพื่อนนำไปปรับพรุ่งในแผน วัน พุธ พฤหัส ศุกร์ต่อไป

นำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน 
ภาพกิจกรรมที่ 1 

นำเสนอแผนการสอนของวิจัย  โดยนายอารักษ์  ศักดิกุล

นำเสนอวิจัย เรื่อง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

นำเสนอโดย นายอารักษ์  ศักดิกุล เลขที่ 17

        การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้

 ความมุ่งหมายของการวิจัย

       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่

กลุ่มตัวอย่าง  

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปังแผ่นแต่งหน้า
 
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการรับรู้ประสาทสัมผัส 
3. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู 
4. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู 
5. เพื่อให้นักเรียนได้ส่งเสริมการแสดงออก 
6. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปังแผ่นแต่งหน้า

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอ่ย เป็นแผ่น  สีขาว  นิยมทานคู่กับแยม   
2. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกัน  ดังนี้    
     2.1 ขนมปังมีลักษณะอย่างไร  มีสีอะไร    
     2.2 ขนมปังมีสีอะไร  รสชาติเป็นอย่างไร  มีใครเคยทานบ้าง    
     2.3 นักเรียนคิดว่าขนมปังทํามาจากอะไร    
     2.4 นักเรียนคิดว่าขนมปังมีประโยชน์ไหม  และมีประโยชน์อย่างไร 

ขั้นสอน  
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณ์ตามความสนใจของตนเอง 
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปังแผ่นรูปทรงต่างๆ แยมผลไม้  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหน้า ทา วาด เขียน เพื่อสร้างชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแล้วให้นําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไว้ที่หน้าชั้นเรียน  
4. เด็กช่วยกันเก็บของ  ทําความสะอาดให้เรียบรู้อยู่

ขั้นสรุป  
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนาร่วมกับครู  ดังนี้   
     1.1 นักเรียนใช้ขนมปังรูปทรงใดบ้างมาทํากิจกรรม   
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ต่างกัน  ต่างกันอย่างไร   
     1.3 ขนมปังของนักเรียนมีอะไรซ้อนอยู่ข้างใน   
     1.4 นักเรียนคิดว่าระหว่างแยมผลไม้ กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปัง ต่างกันหรือ เหมือนกันอย่างไรบ้าง  

สื่อการเรียน 
1. ขนมปังแผ่นรูป 
2. แยมผลไม้บรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมส้ม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอร์รี่  แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
5. ผ้าพลาสติกปูโต๊ะ 
6. ถาดสําหรับใส่ขนม 

การประเมินผล 
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   

************************************************************************

กิจกรรมที่ 2 สอนตามแผน ของวันจันทร์ และ อังคาร

นำเสนอการสอน กลุ่มวันจันทร์เรื่อง ประเภทยานพาหนะ





กลุ่มที่ 1 นำเสนอการสอน เรื่องประเภทยานพาหนะ

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
           1.สอนเด็กร้องเพลง ยานพาหนะ
 เพลง ยานพาหนะ
ยานพาหนะ  ยานพาหนะ
มีมากมาย  มีมากมาย
รถเครื่องบินและเรือใบ รถเครื่องบินและเรือใบ
ดูน่าชม  ดูน่าชม

         2.ใช้เพลงทดสอบความจำของเด็ก และสังเกตว่าเด็กตั้งใจฟังเพลงหรือไม่  เช่น เพลงที่เด็กๆร้อง มียานพาหนะอะไรบ้าง
          3.ใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น เด็กๆ มาโรงเรียนโดยใช้ยานพาหนะอะไร

ขั้นสอน
1.มีกล่องโรงรถใส่รูปยานพาหนะ และหยิบออกมาถามเด็กว่า นี้คือยานพาหนะอะไร
2.ให้เด็กนับว่ามีจำนวนยานพาหนะทั้งหมดเท่าไหร่
3.ให้เด็กใส่เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนยานพาหนะว่าทั้งหมดเท่าไหร่
4.บอกเกณฑ์จัดสถานที่ของยานพาหนะ
5.จัดหมวดหมู่ยานพาหนะแต่ละประเภท และให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมโดยนำภาพยานพาหนะไปแปะบนสถานที่ ที่เหมาะสม
6.ทำกราฟแผนภูมิยานพาหนะที่มากที่สุด และน้อยที่สุด หรือมากกว่า น้อยกว่า นำมาเปรียบเทียบให้เด็กเห็นภาพ

ขั้นสรุป
          1.เด็กๆ รู้จักยานพาหนะอะไรบ้าง โดยแบ่งประเภททางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ควรเลือใช้ปริศนาคำทายที่ตรงกับกิจกรรม
-ควรมีการเตรียมภาชนะใส่สื่อ
-ไม่ควรพูดเร็วจนเกินไป พูดให้ชัดเจน ฉะฉาน ออกเสียง ร,ล เช่นคำว่า "ครู"

นำเสนอการสอน กลุ่มวันจันทร์เรื่อง ประเภทของเล่น ของใช้



กลุ่มที่ 2 นำเสนอการสอน เรื่อง ประเภทของเล่นของใช้

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
          1.สอนเด็กร้องเพลง เก็บของ
          2.พูดคุยกับเด็กว่ามีอะไรอยู่ในถุงบ้าง และอะไรเป็นของเล่น อะไรที่เป็นของใช้

*หมายเหตุ ขั้นสอนและสรุปจดไม่ทันค้ะ

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ควรเลือกเพลงให้เหมาะสมกับเด็กในการสอน ควรตั้งเกณฑ์ ของเล่น,ใช้
-ควรเลือใช้ภาชนะใส่สื่อที่เหมาะสมดูแข็งแรงสวยงาม
-นำคณิตศาสตร์ เรื่อง การจำแนก จำนวน การนับ และการเปรีบเทียบเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสม
-ถามเโ้กว่าเด็กรู้จัก ของเล่น,ของใช้ และประโยชน์อะไรบ้าง

การนำเสนอการสอน กลุ่มวันอังคารเรื่อง ลักษณะผลไม้



กลุ่มที่ 3 นำเสนอการสอน เรื่อง ลักษณะผลไม้

แผนการจัดประสบการณ์

ขั้นนำ
          1.ปริศนาคำทาย ผลไม้
             - ฉันมีรูปร่างเป็นวงกลม เปลือกมีสีม่วง เปลือกกินได้ ฉันคืออะไร ? (องุ่น)
             - ฉันมีรูปร่างเป็นวงรี เปลือกฉันมีสีเหลือง  เนื้อสีเหลือง ฉันคืออะไร? (มะยมชิด)

ขั้นสอน
         1.สังเกตและหยิบมะยมชิดและองุ่นให้มีจำนวนพอกับเด็ก และให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถามเด็กเรื่อง สี , รูปทรง , ขนาด . ส่วนประกอบ , รสชาติของผลไม้เป็นอย่างไร
         2.ให้เด็กๆ บอกลักษณะของผลไม้โดยวิเคราะห์ตามตาราง
         3.โดยมีชื่อผลไม้ , สี , รูปทรง , ขนาด , ส่วนประกอบ , รสชาติ

ขั้นสรุป
         -ครูและนักเรียนสนทนาพูดคุย ถาม-ตอบ  เกี่ยวกับลักษณะของผลไม้

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
ตา = ดู รูปทรง ขนาด สัดส่วน สี ฯลฯ
หู =  ฟังเสียง ฟังข้อมูงการใช้การฟังประสานกับการมองเห็นและประสัมผัสส่วนอื่นๆ
จมูก = ดมกลิ่นว่ามีกลิ่นแบบไหนบ้าง เช่น เหม็น หอม ฉุน เป็นต้น
ปาก = ชมรสว่ามรสชาติอย่างไร เช่น รสเปี้ยว หวาน มัน เค็ม จืด เป็นต้น
การสัมผัส(มือ) = การสัมผัส การจับ จับดูว่ามีพื้นผิวแบบไหนเช่น ผิวหยาบ ลื่น กระด้าง นุ่ม เป็นต้น
-ถามเด็กว่าเด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้าง  พร้อมการจะบันทึกตามที่เด็กพูด
-ควรที่จะจัดอุปกรณ์ สื่อที่เตรียมพร้อมในการสอนเรื่องผลไม้
-ควรวางแผนการจัดกิจกรรมใหเป็นระบบมากกว่านี้

การนำเสนอการสอน กลุ่มวันอังคารเรื่อง ลักษณะของกล้วย



กลุ่มที่ 4 นำเสนอการสอน เรื่อง ลักษณะกล้วย

แผนการจัดประสบการณ์ 

ขั้นนำ
          1.ครูเริ่มด้วยเพลงและถามเด็กว่าในเพลง ทรงกล้วยมีลักษณะอะไรของกล้วยบ้างและนอกจากเพลงนี้ยังมีลักษณะอะไรอีกบ้าง

ขั้นสอน
          1.นำกล้วยออกมาให้เด็กดูที่ละ 1 ชนิด พร้อมให้เด็กสังเกต โดยถามเด็ก เช่น เด็กๆ สังเกตเห็นสีของกล้วยทองสิว่ามีสีอะไร เป็นต้น (รูปทรง , ส่วนประกอบ , กลิ่น , รสชาติ , ขนาด) และครูต้องบันทึกสิ่งที่เด็กพูดในทันที
          2.ครูและเด็กร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะของกล้วย ให้ดูที่ความเหมือนและความต่างของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่ ว่ามีอะไรบ้าง ที่เหมือน/ต่าง กัน

ขั้นสรุป
          1.ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยใช้กล้วยหอมทองและกล้วยไข่ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน เช่น สีเหลือง ทรงรี เปลือก เนื้อ เมล็ด หอม หวาน และความต่างกัน เช่น กล้วยหอมทองยาวและใหญ่กว่ากล้วยไข่ เป็นต้น

คำแนะนำจากครูผู้สอน
-ให้เด็กได้ฝึกใช้ทักษะการสังเกตและการบันทึกข้อมูลของเด็กลงในตาราง
-ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
-ครูควรปฏิบัติกิจกรรมให้เด็กดูที่ละขั้น
-เตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม
-ให้เด็กดูลักษณะสิ่งที่เหมือนกันก่อนเพราะจะง่ายในการสังเกตมากกว่าความต่าง (เพราะกล้วยมีความคล้ายคลึงกันและละเอียดในการสังเกตความต่าง)

จบกิจกรรมการนำเสนอการสอน โดยใช้แผนการจัดประสบการณืเป็นตัวดำเนินการ

********************************************************************
ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.ทักษะการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
4.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การพูดชัดเจน การอธิบายรายละเอียดอย่างครอบคลุม
5.ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากปัญหาที่อาจารย์ได้ตั้งคำถาม
6.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน
7.ทักษะการในการตอบคำถาม
8.ทักษะการปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงกับวัตถุประสงค์
9.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้
10.ทักษะการตัดสินใจเลือกิจกรรมที่เหมาะสม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.รู้จักการจัดกิจกรรมที่ถูกต้องและเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติในการสอนในครั้งต่อไปอย่างถูกต้อง
2.รู้จักสอดแทรกกิจกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3.จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัน
4.มีการวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เด็กเข้าใจง่าย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
1.ให้นักศึกษาเรียนรู้และนำเสนองานต่างๆอย่างเป็นระบบ เป็นการถ่ายทอดความรู้ไสู่เพื่อนๆในชั้นเรียน
2.สนทนาพูดคุย ถาม-ตอบ การแสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
3.การจำลองสถานการณ์จริง
4.การให้รายละเอียดข้อมูล โดยการอธิบาย อย่างชัดเจน
5.การแนะนำเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

ประเมิณผล

ประเมิณตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ช่วยเพื่อนๆระดมความคิด และออกไปนำเสนองานร่วมกับเพื่อน ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรมตั้งแต่ต้น จนจบกิจกรรม

ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และนำเสนองานของกลุ่มตนเองได้ลุล่วง

ประเมิณอาจารย์ : ตรงต่อเวลา พูดคุยสอบถามก่อนทำกิจกรรม และคอย ให้คำแนะนำหลังจากที่จบการนเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น