วันพุธ ที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ.2559
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
วันนี้มาแบบไม่รู้อะไรเลย มาสายค้ะเข้ามาก็เห็นเพื่อนๆนำกระดาษที่เขียนชื่ิอตนเองไปแปะหน้ากระดาน
เรื่องที่เรียน
ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่อง คือคนที่มา และไม่มา ฉันรีบเขียนชื่อแล้วไปแปะคนสุดท้าย แล้วครูก็อธิบายต่อว่าทำไมถึงให้นำกระดาษมาแปะแล้วแยกกลุ่มคนออกเป็น 2 กลุ่ม
(1)
มา
|
ไม่มา
|
ตารางครั้งแรกที่ฉันเห็น
ครูให้นับจำนวนตัวเลข โดยให้อ่านตามลำดับ จะมีตัวเลขลำดับกำกับเป็นข้อๆไว้ แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม
(2)
ลำดับ
|
มา
|
ไม่มา
|
1
2
3
4
|
ชื่อ
ชื่อ
ชื่อ
ชื่อ
|
ชื่อ
|
รวม
|
18
|
2
|
ทั้งหมด
|
20
|
ตารางแสดงการมาโรงเรียนซึ่งมีการออกแบบจากความคิดเห็นของนักศึกษาจึงออกมาดูดียิ่งขึ้น
ที่เห็นในตารางคือจำนวนนักศึกในห้องเรา ซึ่งสมมุติว่าเป็นนักเรียน ชั้น อ.1/2 ดังนี้
คำถามวันนี้ของนักเรียนคือ
1. เพื่อนที่มาโรงเรียนมีจำนวนกี่คน
เด็กตอบ มา 18 คน
2. เพื่อนที่ไม่มาโรงเรียนกี่คน
เด็กตอบ ไม่มา 2 คน
3. สมาชิกในห้องทั้งหมดมีกี่คน
เด็กตอบ มีทั้งหมด 20 คน
สมมุติว่ามีนักเรียน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ถ้าหากจำนวนคนเยอะ เราต้องทำให้กลุ่มเยอะขึ้น แต่จำนวนยังคคงเดิม และดูเล็กลง เพื่อจะได้เช็คชื่อเด็ก แล้วตั้งชื่อกลุ่ม เช่น กลุ่ม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หกเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงรี่เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ด้านรูปทรง ต่างๆ
ออกแบบทรงที่แตกต่างกันให้เด็กมองเห็นได้ชัด เพื่อให้เด็กได้แยกรูปทรงง่ายขึ้น
ภาพแสดงตารางเป็นกลุ่มย่อย
กิจกรรมต่อมาคือการขับร้องเพลงเด็กปฐมวัย
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
เพลงเข้าแถว
เพลงสวัสดีคุณครู
เพลงจัดแถว
เพลงขวดห้าใบ
เพลงสวัสดียามเช้า
เพลงซ้าย-ขวา
เนื้อหาสาระที่เรียน
การแบ่งกลุ่มแยกออกแต่ละตารางนั้นทำให้กลุ่มเยอะขึ้นแต่จำนวนน้อยลงและเป็นระเบียบมากขึ้น และไกด้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหา ว่าทำอย่างไรให้ดูสวยงามดูแล้วเข้าใจง่าย จากนั้นก็เพิ่ม เลขลำดับเข้าไป มีช่องเพิ่มขึ้นจัดระเบียบใหม่ให้ง่ายต่อการอ่านของผู้เรียน ดังรูปที่ 2 และจัดประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทีใช้ในชีวิตประจำวัน ที่อยู่รอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การมาเรียนทันเวลาหรือมาคนแรกๆก็จะได้อยู่คนที่1 2 3 ตามลำดับแต่ถ้าหากมาสายก็จะได้เป็นคนสุดท้ายถ้าหากอยากอยู่คนแรกๆ ก็ต้องมาก่อน เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมให้เด็กกระตือรือล้นด้วยตัวของเขาเอง ไม่ควรพูดตรงจนเกินไป ในบางครั้งเด็กก็อาจจะไม่รู้ว่าทำไมถึงเแป็นแบบนั้นเราเป็นครูควรจะอธิบายให้เด็กนั้นเข้าใจ แล้วเขาจะปฏิบัติเอง ในส่วนของตัวเลขก็เช่นกันที่เป็นการนับจำนวนก็เป็นพื้นฐานในการ บวก ลบในระดับชั้นต่อๆไปตามความเหมาะสม ได้เรียนรู้เรื่องภาษา สามารถอ่านชื่อยาวๆได้
นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 5 6 และ 7
นำเสนอหน้าชั้นเรียนเลขที่ 5 6 และ 7
คนที่ 1 เลขที่ 4 นำเสนอบทความ
บทความ เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
โดย ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล
แนวทางสำคัญ คือ ครอบครัว การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี มี 3 รูปแบบดังนี้
1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์
เด็กวัยนี้จะนับเลข 1-5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์เช่นภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้ แทนตัวเลขเพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
2.เด็กอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก
การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3.ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม
ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีจะต้องเข้าใจคำว่า "เพิ่ม" คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง
วิจัยเรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับจากการทำอาหารพื้นบ้านอีสาน
โดย: กุหลาบ ภูมาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ
การจัดประสบการณืพื้นบ้านอาหารอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยที่เด็กลงมือทำ ปฏิบัติจริง เด็กจะเกิดความสนุกสนาน เพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก อยากทดลอง อยากลงมือทำ เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
- ด้านการเปรียบเทียบ
- ด้านการจัดหมวดหมู่
- ด้านเรียงลำดับ
- ด้านการรู้ค่าจำนวน
กลุ่มทดลอง
เด็กอนุบาล 2 ปีพ.ศ.2556 โรงเรียนโลกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ทำการทดลอง
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที รวม 24 ครั้ง
ระยะที่ 1 ขั้นเตรียม
- ก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่ 2 ขั้นจัดประสบการณ์
- ให้เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการจัดหมวดหมู่อาหาร การหาร การปรุงรส การหั่นผัก รวมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
- เป็นการพูดคุยสนทนา โดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารได้ และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าชั้นเรียน
สิ่งที่เด็กได้รับ
1.เรียนรู็เกี่ยวกับโภชนาการ อาหารต่างๆ
2.รู้จักการคำนวณ เช่น การวัด การกะ และปริมาณ
3.พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง
4.ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกต การชิมรส การดมกลิ่น การฟังเสียงที่เกิดขึ้น และการสัมผัส
5.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
วีดีโอ สรุป เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน
โดย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนของคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวน และการท่องจำ อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝั่งความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน" เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุก และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัว จะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนักและขนาด
โดย ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล
แนวทางสำคัญ คือ ครอบครัว การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี มี 3 รูปแบบดังนี้
1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์
เด็กวัยนี้จะนับเลข 1-5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์เช่นภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้ แทนตัวเลขเพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
2.เด็กอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก
การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3.ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม
ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีจะต้องเข้าใจคำว่า "เพิ่ม" คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง
วิจัยเรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับจากการทำอาหารพื้นบ้านอีสาน
โดย: กุหลาบ ภูมาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ
การจัดประสบการณืพื้นบ้านอาหารอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยที่เด็กลงมือทำ ปฏิบัติจริง เด็กจะเกิดความสนุกสนาน เพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก อยากทดลอง อยากลงมือทำ เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
- ด้านการเปรียบเทียบ
- ด้านการจัดหมวดหมู่
- ด้านเรียงลำดับ
- ด้านการรู้ค่าจำนวน
กลุ่มทดลอง
เด็กอนุบาล 2 ปีพ.ศ.2556 โรงเรียนโลกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ทำการทดลอง
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที รวม 24 ครั้ง
ระยะที่ 1 ขั้นเตรียม
- ก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่ 2 ขั้นจัดประสบการณ์
- ให้เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการจัดหมวดหมู่อาหาร การหาร การปรุงรส การหั่นผัก รวมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
- เป็นการพูดคุยสนทนา โดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารได้ และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าชั้นเรียน
สิ่งที่เด็กได้รับ
1.เรียนรู็เกี่ยวกับโภชนาการ อาหารต่างๆ
2.รู้จักการคำนวณ เช่น การวัด การกะ และปริมาณ
3.พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง
4.ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกต การชิมรส การดมกลิ่น การฟังเสียงที่เกิดขึ้น และการสัมผัส
5.รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
วีดีโอ สรุป เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน
โดย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนของคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวน และการท่องจำ อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝั่งความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน" เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุก และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัว จะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนักและขนาด
คนสุดท้าย ที่ได้ทำการแก้ไขวิจัยของสัปดาห์ที่แล้ว ออกมานำเสนออีกครั้ง
สาระมาตราฐานการเรียนรู้
- การนับตามลำดับ
- ความแตกต่างของรูปทรง
- การออกแบบความคิดใหม่ๆ
- คณิตศาสตร์และภาษา
- ทักษะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ทักษะที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
1. ทักษะการเรียงกระดาษตามลำดับ
2. ทักษะการไถ่
3. ทักษะการนับ
4. ทักษะการจำแนกแยกกลุ่ม
5. ทักษะการบอกค่าบอกจำนวน
6. ทักษะคำศรัท์ คนแรก คนสุดท้าย
7. ทักษะพื้นฐานของการบวก ลบ
8. ทักษะทางจิตนาการนำไปสู่การออกแบบ
9. ทักษะภาษา
10.ทักษะการบูรณาการในการใช้ชีวิตประจำวัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เชื่อมโยงไปสู่ตัวสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมที่จะต้องมีการพิสูจน์
- นำไปบูรณาการเสริมสร้างการเรียนรู้
- ใช้วิธีการจับ คู่ 1 ต่อ 1 ในการนับ เมื่อได้คอนเซป ก็จะสามารถนำไปสอนได้ตามคอนเซปที่มี
- ใช้จิตนาการให้เกิดประโยชน์รอบด้านมากยิ่งขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- การตั้งคำถามในชั่วโมงเพื่อให้หาคำตอบโดยการคิด
- อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในลำดับต่อไปให้เห็นภาพที่ชัดเจน
- ใช้หลัการสอนที่เปลี่ยนแปลงเสมอแต่ยังน่าสนใจ
- สอนคุณธรรมจริยธรรมร่วมทั้งสอนไปในตัว
- มีการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้เรียน
ประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ให้คะแนนตัวเองแคพอใช้เพราะมาสาย แต่ให้คะแนนความตั้งใจ ดีมาก เพราะการมาสายทำให้รู้สึกต้องกระตือรือล้นให้มากขึ้น ฟังและตอบคำถามให้ความร่วมมือกับครูและเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน : มากันพร้อมเพียงตรงต่อเวลา ตั้งใจจด ตั้งใจอ่านเขียน เสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อน สร้างบรรยากาศในห้องให้ไม่เคร่งเคลียดเกินไป
ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมก่อนสอนเสมอ แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม สุขุมน่าเคารพ อธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่าย สร้างความเกรงใจได้ดีค้ะ