บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธ ที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2559
บรรยากาศในห้องเรียน
ครูและนักศึกษามากันอย่างพร้อมเพียง ตรงต่อเวลา แต่ก็ยังมีนักศึกษาบางคนที่ยังมาไม่ถึง ครูก็ไม่รอช้าก็ทำการเรียนเลยเมื่อถึงเวลา ครูได้แจตกกระดาษให้กับนักศึกษาหยิบไปคนล่ะ 1 แผ่น ดูเหมือนรทุกครั้งที่เรียนจะมีอะไรเซอร์ไพร์เสมอ เพรา่ะเราไม่รู้เลยว่าหลังจากแจกกระดาษเสร็จจะเกิดอะไรขึ้น ตื่นเต้นไม่น้อยเลยละค่ะ เมื่อแจกกระดาษครบส่งกระดาษที่เหลือคืนครู แล้วครูก็เริ่มอธิบายต่อไปเกี่ยวกับสิ่งที่จะให้ทำหรือเรียกอีกอย่างว่ากิจกรรม ซึ่งมีการโต้ตอบระหว่างครูผู้สอนและนักศึกษาได้ร่วมสนทนากันตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรรม
เรื่องที่เรียน
-การแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แล้วฉักกระดาษโดยใช้มือเราให้เกิดประโยชน์
-ประสบการณืเดิมจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
-วิธีการใช้คณิตศาสตร์ที่หลากหลาย
-การคิด,การปรับตัว และการแก้ไขปัญหาของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ
-การตระหนักรู้ถึงการเป็นครู
-คำขวัญวันครูนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้
-การมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตประจำวัน
-การออกแบบการวางตัวหนังสือ , จังหวะในการออกแบบและการเขียน
-การปฏิบัติกิจกรรมให้ตรงตามขอบเขตที่ครูกำหนด
-วิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ , สาระมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการเรียนรู้
เนื้อหาสาระทีี่เรียน
ได้รู้วิธีการแบ่งกระดาษตามแนวต่างๆทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งต้องแบ่งออกมาให้ได้ 4 ส่วน ส่วนละเท่าๆกัน แล้วต้องสามารถที่จะฉีกกระดาษนั้นได้ด้วยมือเปล่าไม่ใช้เครื่องมือช่วยแสดงถึงความชำนาญฝึกให้เป็นไว้ใช้ในอนาคต หลังจากนั้นก็ให้ออกแบบชื่อตนเอง โดยกระดาษชิ้นที่เอาไว้กับตัวเองจะต้องดีไซต์ให้เหมาะสมกับกระดาษและตัวอักษร เสร็จแล้วนำไปแป๊ะบนกระดานหน้าชั้นเรียนเรียงกัน แล้วครูผู้สอนก็จะมาชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างการดีไซน์งานออกมาได้ลงตัวและไม่ลงตัวแล้วอธิบายถึงเหตุผลและให้คิดตาม ในการนับกระดาษนั้นถ้าอยากนับใหเง่ายก็ต้องจัดวางกระดาษให้เป็นแถวเป็นแนวเป็นระเบียบก็จะส่งผลไปสู่การอ่านหรือการนับที่เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น แล้วยังทำให้เรารู้จักคิดแก้ไขปัญหาได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
สาระมาตรฐานการเรียนรู้
- จำนวนการดำเนินการ
- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- การคิดวิเคราะห์หาข้อมูลและความจำเป็น
- ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะที่ได้รับจากการเรียนวันนี้
1.ทักษะการคิดการแบ่งกระดาษด้วยหลากหลายวิธี ร่วมถึงการแบ่งส่วนให้เท่าๆกัน
2.ทักษะการนำประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์
3.ทักษการเขียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
4.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์
5.ทักษะการหาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
6.ทักษะการคิดการตอบปัญหาจากคำถามของครู
7.ทักษะการทำกิจกรรมให้ตรงขอบเขตที่ครูกำหนด
8.ทักษะการค้นหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ๆ
9.ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้มีความน่าสนใจ
10.ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบระเบียบ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-กำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเอง
-สามารถนำกิจกรรมไปต่อยอดและพัฒนาได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-เข้าใจในการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ทำให้ไม่น่าเบื่อเป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยในอานคต
-ทำกิจกรรมได้อย่างรัดกุมมีขอบเขตตามวิธีการของครู
-เข้าใจถึงธรรมชาติของผู้เรียนและผู้สอนแล้วอยู่ร่วมกันทำให้แก้ปัญหาได้อย่างเข้าใจ
-นำประสบการณืในชีวิตประจำวันมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ได้
-ตระหนักรู้ถงการเป็นครูที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและมีการเตรียมความพร้อมและทำให้ตนเองมีคุณภาพในการเป็นครู เชื่อมั่นในวิชาชีพ
-นำเสนอหน้าชั้นเรียนได้อย่างเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
สรุปบทความ วิจัย แลวิดีโอ ของเพื่อนที่นำเสนอวันนี้
บทความ
เรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวนการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู็ของเด็ก ได้แก่ ทบทวนความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู็ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
วิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นนำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2.ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานของเด็กหลังการทดลอง
การสังเกตุที่ได้จากการวิจัย
-สัปดาห์แรกเด็กต้องการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลาในการอธิบายวิธีการทำ
-ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมาก
-เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลาย
-กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช่น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพันธ์กัน
สรุปผล
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรายบ้านพอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี
วิดีโอ
โทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมคณิจปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
มี 6 กิจกรรม
1.กิจกรรมปูมีขา : เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กณู้ว่าปูมีกี่ขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ ให้มือเป็นขาของปู
2.กิจกรรมต้นไม้ใกล้ตัว : พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้
3.กิจกรรมใบไม้แสนสวย : เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ
4.กิจกรรมมุมคณิต : การนำสิ่งต่างๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย ดดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
5.กิจกรรมเกมกระต่ายเก็บของ : เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่งคือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6.กิจกรรมเกมก้อนหินหรรษา : เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียบรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญเด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- ให้ประเด็นปัญหามา แล้วให้นักศึกษาได้พูดคุยและคิดแก้ไขปัญหานั้นๆในชั้นเรียน
- มีการโยนคำถามปลายเปิดให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์แล้วตอบคำถาม
- มีการเตรียมรูแบบการเรียนมาอย่างเป็นขั้นๆ
-สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีตลอดระยะเวลาของการเรียน
การประเมินผล
ประเมินตนเ้อง : ตรงต่อเวลามีความพร้อมระดับพอใช้ มัความตั้งใจในการเรียน ให้ความร่วมมือทุกๆกิจกรรมการเรียนกดารสอน แก้ไขปัญหาได้ไม่มากก็น้อย
ประเมินเพื่อน : ตรงต่อเวลา ให้ความสนใจต่อผู้สอน โต้ตอบครูให้ความร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนเป็นอย่างดี เอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : มีความพร้อมในการสอน ตรงต่อเวลา มีการสอนตามลำดับขั้นเป็นระบบระเบียบ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนเข้าใจง่าย ให้โอกาศในการตอบคำถามของผู้เรียน ชี้แนะแนวทางที่ดีให้เสมอ ทั้งยังทรอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น